กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12632
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทองของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix's factors effecting the selection of gold purchase in Muang District, Trat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร เลิศโภคานนท์
กิตติกร วิสุทธิแพทย์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ทอง--การตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--ตราด
การตัดสินใจ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
เครื่องประดับทองคำ--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด (2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อทองของผู้บริโภค (3) เพื่อศึกษาถึงปัญหาจากการซื้อทองและการบริการที่ผู้บริโภคต้องการจากร้านค้าทอง การศึกษาครั้งนี้ ประชากรที่ทำการศึกษา คือ ประชาชนที่ซื้อทองคำในอำเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน โดยคำนวณหากลุ่มตัวอย่างได้ 390 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำไปประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปและวิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเบื่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย จากผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดตราด ให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงคุณภาพทองคำต้องได้มาตรฐาน มีการรับประกันและมีการบริการหลังการขาย สถานที่จำหน่ายต้องตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกหาง่าย ในส่วนของปัจจัยด้านราคา ผู้บริโภคมีความต้องการราคาที่เหมาะสม มีการรับซื้อคืนที่เป็นธรรม และมีการแจ้งราคาที่ชัดเจน สำหรับปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดผู้บริโภคให้ความสนใจในด้านของการมีส่วนลดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะลูกค้าที่ซื้อเป็นประจำ รวมถึงการมีของสมนาคุณเป็นของขวัญหรือของชำร่วย ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการซื้อทองพบว่า เพศหญิงมีการซื้อทองรูปพรรณมากกว่าทองคำแท่ง ซื้อเพื่อการประดับมากกว่าการออม ผู้บริโภคที่มีอายุน้อยมีการตัดสินใจซื้อทองในช่วงที่เงินเดือนออกมากกว่าที่จะซื้อในช่วงที่ทองคำมีราคาลดลง ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรีเลือกลักษณะของทองรูปพรรณที่ซื้อคือ ทองตันแน่นเส้นเล็กมากกว่าที่จะซื้อทองโปร่งเส้นใหญ่ ผู้บริโภคที่มีอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจและธุรกิจส่วนตัวเลือกรูปแบบของทองรูปพรรณที่ซื้อคือสร้อยคอ ผู้บริโภคที่มีรายได้สูงเมื่อต้องการซื้อทองจะพิจารณาในเรื่องของคุณภาพทองคำมากกว่าที่จะพิจารณาในเรื่องของราคา ในด้านปัญหาจากการซื้อทองและการบริการที่ผู้บริโภคต้องการจากร้านค้าทอง ปัญหาจากการซื้อทองคำที่ผู้บริโภคพบมากที่สุด คือ ค่ากำเน็จมีราคาสูง ส่วนปัญหาจากการบริการที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด คือ ไม่ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12632
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_112649.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons