กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12639
ชื่อเรื่อง: ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนใช้ก๊าซ C2 Hydrocarbon เป็นเชื้อเพลิงผลิตไอน้ำทดแทนน้ำมันเตา กรณีศึกษาบริษัทสีมาธุรกิจ จำกัด กลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Feasibility in replacing heavy oil for boiler with C2 Hydrocarbon : a case study of Seemathurakij Co., Ltd. Thai Beverage Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา
กิตติศักดิ์ อินทร์ยิ้ม, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทสีมาธุรกิจ จำกัด
บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
เตาอุตสาหกรรม--การเปลี่ยนเป็นก๊าซธรรมชาติ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนใช้ก๊าซ C2 Hydrocarbon เป็นเชื้อเพลิงผลิต ไอน้ำทดแทนน้ำมันเตา บริษัท สีมาธุรกิจ จำกัด กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค (2) ประเมินผลประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน (3) วิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุนการเก็บข้อมูลรวบรวมจากข้อมูลทุติยภูมิ เป็นการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารวิชาการ ตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ และข้อมูลบันทึกการปฏิบัติงานของหน่วยงาน บริษัท สีมาธุรกิจ จำกัด ตลอดจนข้อมูลของบริษัทในเครื่อ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคด้วยการเทียบเคียงกับการดำเนินงานการก่อสร้างและติคตั้งอุปกรณ์พร้อมตัดแปลงหัวเผาหม้อไอน้ำรองรับการใช้เชื้อเพลิงก๊าซ C2 Hydrocarbon ผลิตไอน้ำทดแทนน้ำมันเตา โรงงานเทียร์ช้าง จังหวัดกำแพงเพชร ทำการวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุนโดยใช้ ระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบับสุทธิ และอัตราผลตอบแทนโครงการ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 การผลิตปกติมีการบรรจุ การกลั่น และจำหน่ายสุราขาว 70 ดีกรีให้กับบริษัทในเครือ กรณีที่ 2 การบรรจุเท่ากันกรณีที่ 1 แต่เพิ่มปริมาณการกลั่นมากกว่ากรณีที่ 1 เพื่อให้มีปริมาณการใช้เชื้อเพลิงก๊าซ C2 Hydrocarbon เป็นไปตามเงื่อนไขการเสนอราคา กรณีที่ 3 การผลิตปกติมีการบรรจุการกลั่น และจำหน่ายสุราขาว 70 ดีกรีให้กับบริษัทในเครือ แต่เพิ่มราคาจำหน่ายก๊าซ C2 Hydrocarbon 5% ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านเทคนิด ต้องใช้อุปกรณ์หม้อไอน้ำรองรับการใช้ก๊าซ C2 Hydrocarbon พื้นที่การติดตั้งถังเก็บก๊าซ C2 Hydrocarbon การขนส่งก๊าซ C2 Hydrocarbon และการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ปริมาณการผลิตและแนวโน้ม มีความเป็นไปไว้ในการนำมาใช้ (2) ผลประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานการศึกษาคำนวณปริมาณการใช้ก๊าช C2 Hydrocarbon รวมตลอดอายุโครงการ 5 ปีได้ผลประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน กรณีที่ 1 รวมเท่ากับ 72,348,568 บาท กรณีที่ 2 รวมเท่ากับ 84,661,239 บาท กรณีที่ 3 รวมเท่ากับ 67,313,132 บาท (3) วิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุนพบว่า กรณีที่ 1 ระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 1 ปี 5 เดือน 8 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 23,961,036.48 บาท และ อัตราผลตอบแทนโครงการ เท่ากับ 67.24 % กรณีที่ 2 ระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 1 ปี 3 เดือน 2 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 29,882.297.95 บาท และ อัตราผลตอบแทนโครงการ เท่ากับ 79 13 % กรณีที่ 3 ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 1 ปี 6 เดือน 45 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 21,430,319.93 บาท และ อัตราผลตอบแทนโครงการ เท่ากับ 61.88 % จึงสรุปได้ว่าโครงการมีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคในการนำก๊าซ C2 Hydrocarbon เป็นเชื้อเพลิงผลิตไอน้ำทดแทนน้ำมันเตา ผลประหยัดค่าใช้ง่ายด้านพลังงานตลอดระยะเวลาโครงการสูง และมีความคุ้มค่าการลงทุน ซึ่งผู้บริหารของบริษัทจะต้องตัดสินใจเลือกดำเนินการตามแนวทางใดแนวทางหนึ่งจาก 3 แนวทางที่เห็นว่าเหมาะสมกับธุรกิจต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12639
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_127342.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons