กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12643
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของการเลือกนโยบายการบัญชีที่มีต่อการดำเนินงานของกิจการ : กรณีศึกษาบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The impact of accounting policies selection on the business performance : a case study of Banpu Public Company Limited /
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัลยาณี กิตติจิตต์
กรรณิการ์ สุวรรณแพร่, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทบ้านปู--การบัญชี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง “ผลกระทบของการเลือกนโยบายการบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงานของกิจการ : กรณีศึกษา บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษานโยบายการบัญชีเกี่ยวกับ สินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และการรับรู้รายได้ของ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (2) ศึกษา ผลกระทบของการเลือกนโยบายการบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงาน ของ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ระดับบริหารและระดับปฏิบัติของ บริษัท บ้านปู จำกัด(มหาชน) การรวบรวมข้อมูลทำโดยใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า (1) บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เลือกใช้นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับ สินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และการรับรู้รายได้ เป็นไปตามที่มาตรฐานการบัญชี กำหนดให้เลือกปฏิบัติได้ โดยบริษัทฯ บันทึกสินค้าและที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ด้วยราคาต้นทุนใน การซื้อหรือได้มารวมค่าใช้จ่ายทางตรงที่ทำให้สินค้าพร้อมขายและที่ดินอาคารและอุปกรณ์พร้อมใช้ งาน บริษัทฯคำนวณค่าเสื่อมราคา ด้วยวิธีเส้นตรง บางรายการคำนวณตามอายุการใช้งานที่สอดคล้องกับประมวลรัษฎากร และบางรายการคำนวณตามอายุสัมปทานบัตร บริษัทฯรับรู้รายได้ จากการขายเมื่อได้โอนกรรมสิทธิ์ไปให้ผู้ซื้อแล้ว และรับรู้รายได้ค่าบริการเมื่อมีการให้บริการสิ้นสุด หรือตามสัดส่วนของการให้บริการนั้น (2) ผลจากการเลือกใช้นโยบายการบัญชี ของ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับการคำนวณค่าเสื่อมราคา ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ บางรายการที่บริษัทฯ ได้รับสัมปทานบัตรซึ่งบริษัทฯ ได้คำนวณโดยใช้อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าอายุสัมปทานบัตร และการคำนวณมูลค่าสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือบางรายการที่จัดเก็บไว้ บริษัทฯยังไม่ได้รวมต้นทุน ส่วนที่ทำ ให้สินค้าสำเร็จรูปนั้นพร้อมที่จะขายได้ ทำให้บางรายการในงบการเงินของบริษัทฯไม่ได้ สะท้อนสภาพทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ผลของการคำนวณดังกล่าวทำให้กำไรของบริษัทฯ สูงกว่า ความเป็นจริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12643
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_100862.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons