Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1265
Title: พิธีกรรมและความเชื่อของชาวกูย ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Rituals and beliefs of the Kuy ethnic gruop of Takone Sub-district in the Mueang Chan District, Si Sa Ket Province
Authors: จิตรา วีรบุรีนนท์
พระมหาเดช มีภาพ, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์
ไพฑูรย์ มีกุศล
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
กูย--ไทย--พิธีกรรม
ความเชื่อ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมา ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวกวย ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อความเชื่อและพิธีกรรมของชาวกวย ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ (3) แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมความเชื่อและพิธีกรรมของชาวกวย ตำบลโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้อาวุโส/ผู้รู้ และปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน จำนวน 10 คน ผู้นำชุมชนในตำบลตาโกน จำนวน 5 คน ประชาชนชาวตำบลตาโกน มีกำหนดอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปจำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 25 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจชุมชน การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ชาวกวยบ้านตาโกนนั้นดั้งเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณ พระธาตุเมืองจันทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 หรือบ้านเมืองจันทร์ปัจจุบัน ต่อมาภายหลังได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาสร้างชุมชนใหม่ สำหรับชื่อเรียกขานชุมชนนั้นตั้งตามชื่อแหล่งน้ำคือ หนองตะกอล ซึ่งเป็นภาษากวย แปลว่าหัวเข่า และเพี้ยนเป็น ตาโกน จนถึงปัจจุบัน ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวกวย ตำบลตาโกน คือความเชื่อและพิธีกรรมเรื่องผีปู่ ตา ผีตาแฮก ส่วนพิธีกรรมเป็นการเซ่นผีบรรพบุรุษในวันสารท (จาสาก) การรำผีออผีแถน การขึ้นบ้านใหม่ และพิธีกรรมประเพณีไหว้พระธาตุ (บ้านเมืองจันทร์) (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อความเชื่อและพิธีกรรมของชาวตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษเป็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านครอบครัวเดิม ซึ่งเดิมเป็นครอบครัวขยาย ปัจจุบันเป็นครอบครัวเดี่ยว ส่วนกลุ่มสังคมเดิมจะรวมกลุ่มมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางญาติสายโลหิต ปัจจุบันเป็นการรวมกลุ่มโดยหน่วยงานต่างๆ ส่วนด้านชุมชน ชุมชนเดิมจะช่วยเหลือกิจกรรม โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมจัดกิจกรรมทางศาสนาและประเพณี ปัจจุบันกิจกรรมหรืองานบางประเภทจะมีหน่วยงานจากส่วนกลางเข้ามาดำเนินงาน (3) แนวทางในการอนุรักษ์และส่งเสริมความเชื่อและพิธีกรรมชาวกวยตำบลตา-โกน คือการอบรมสั่งสอนบุตรหลานคนรุ่นหลังให้ได้รับรู้ถึงความเป็นมาและความสำคัญของพิธีกรรมประเพณีที่ถือว่าเป็นมรดกภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษมอบไว้ให้ เพื่อให้เกิดความสำนึก ภูมิใจที่จะร่วมกันรักษาไว้ควบคู่ไปกับการนำบุตรหลานถือปฏิบัติในพิธีกรรมและประเพณีตามเทศกาลนั้น ๆ ไปพร้อมกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1265
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (25).pdfเอกสารฉบับเต็ม19.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons