กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12654
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมเชื้อราในหอมแดงของเกษตรกร ตำบลยางชุมใหญ่ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension in the use of Trichoderma to control fungal disease of shallot (Allium ascalonicum L.) by the farmers in Yang Chum Yai Sub-district, Yang Chum Noi district, Sisaket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
ศุภชาติ สฤษดิ์นิรันดร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
คำสำคัญ: ไตรโคเดอร์มา
เชื้อรา--การใช้รักษา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในตำบลยางชุมใหญ่ 2) ความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง 3) การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง 4) การส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมการใช้ไตรโคเคอร์มาของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 53.9 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 46.9 ปี จบมัธยมศึกษาตอนต้น/ปลาย มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.98 คน มีพื้นที่ปลูกหอมแดง เฉลี่ย 3.8 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 5,727.3 กก./ไร่ ต้นทุนรวมเฉลี่ย 24,412.1บาท/ไร่ รายได้ในการปลูกหอมแดง เฉลี่ย 176,711.4 บาท/ปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย69,658.11 บาท/ปี รายจ่ายปลูกหอมแดง เฉลี่ย 95,759.1 บาท/ปี 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโต้เดอร์มาในการควบคุมเชื้อราในหอมแดงเอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความรู้ในประเด็นการขยายเชื้อรา การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในช่วงอายุต่างๆ ของหอมแดง การเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างถูกวิธีและความปลอดภัยของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 3) เกษตรกรทั้งหมด ใช้ไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมเรื่องโรคโคนเน่ารากเน่าในหอมแดง มีการใช้เชื้อราไตรโต้เดอร์มาโดยการฉีดพ่น และการผสมปุ๋ย โดยคลุกปุ๋ยหมักผสมในการเตรียมดินก่อนปลูกพืชรุนใหม่ 4) เกษตรกรส่วนมากได้รับการถ่ายทอดความรู้จากการอบรม และมีความต้องการการส่งเสริมในประเด็น ประโยชน์จากการใช้ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการเตรียมดินและการผสมปุ๋ย การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อการฉีดพ่น 5) เกษตรกรมีปัญหาขาดการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง การเข้าถึงสำนักงาน/องค์กร และการทำการสาธิตและเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำเอกสารหรือสื่อความรู้ให้กับเกษตรกรและให้มีการสาธิตและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12654
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons