Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12664
Title: แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ในจังหวัดหนองคาย
Other Titles: Extension guidelines for learning of cassava production by farmers in Nongkhai Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
มัทนา วงทองคำ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
Keywords: มันสำปะหลัง--การผลิต
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดหนองคาย 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร 3) สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร 4) การส่งเสริมการเรียนรู้การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.67 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 8.09 ปี มีแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน 2.45 คน พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 10.15 ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 5,051.02 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 4.34 ตันต่อไร่ ราคาขายผลผลิตเฉลี่ย 2.17 บาทต่อกิโลกรัม รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 91,787.07 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตมันสำปะหลังในระดับมาก และส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากเพื่อนเกษตรกร ญาติพี่น้องและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตร 3) เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังด้วยพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง เก็บพันธุ์ไว้ใช้เองปลูกต้นฤดูฝน ใช้แรงงานในครัวเรือนโดยใช้น้ำฝนตามธรรมชาติ เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังเมื่ออายุ 12 เดือน ขายหัวมันสดที่ลานมันเอกชนด้วยการขนส่งด้วยตนเอง 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ในระดับน้อย มีความต้องการได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้โดยวิธีการอบรมถ่ายทอดความรู้มากที่สุด รองลงมาจากเจ้าหน้าที่เกษตรจากการเยี่ยมเยียนเกษตรกรและจากการศึกษาดูงาน โดยมีความต้องการเรียนรู้ด้านเนื้อหาในประเด็นวิธีการปลูกและระยะการปลูกที่เหมาะสม การเตรียมพื้นที่ในเรื่องการตรวจวิเคราะห์ดิน และการคัดเลือกพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่ 5) เกษตรกรมีปัญหามากจากการอบรมถ่ายทอดความรู้ไม่ต่อเนื่อง ขาดการเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่เกษตรและการศึกษาดูงาน โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้การอบรมถ่ายทอดความรู้การศึกษาดูงาน การฝึกปฏิบัติในแปลงสาธิต/แปลงเรียนรู้โดยยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง กำหนดเนื้อหาการเรียนรู้มุ่งเน้นประโยชน์ในการนำไปใช้ได้จริงตามความต้องการของเกษตรกร มีการปรับปรุงเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นปัจจุบัน และมีการลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายากเพื่อเข้าใจง่าย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12664
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons