Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12670
Title: คู่มือการประเมินความเสี่ยงของโรงงานอุตสาหกรรมวุ้นเส้น กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมวุ้นเส้น บริษัท ไทยวาฟูดโปรดักส์ จำกัด (มหาชน)
Other Titles: Mannual of risk assessment in vermicelli factory case study : Thai Wah Food Product (Public) Co., Ltd.
Authors: สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์
นิชประภา นิ่มสุวรรณ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัท ไทยวาฟูดโปรดักส์ จำกัด (มหาชน)--การประเมินความเสี่ยง
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: โรงงานอุตสาหกรรมวุ้นเส้นในปัจจุบันได้มีการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการผลิตมากขึ้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทำงาน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้จึงได้จัดทำคู่มือการประเมินความเสี่ยงของโรงงานอุตสาหกรรมวุ้นเส้นขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ค้นหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมวุ้นเส้น โดยกระบวนการชี้บ่งและประเมินความเสี่ยง (2) เสนอแนะแนวทางในการควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมวุ้นเส้นการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกบริษัท ไทยวาฟูดโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้นแบบในการศึกษา โดยได้ทำการสำรวจกระบวนการผลิตและชี้บ่งอันตราย ตลอดจนทำการประเมินความเสี่ยง และนำมาจัดระดับความเสี่ยง เพื่อเสนอแนะมาตรการในการจัดการความเสี่ยงในคู่มือการประเมินความเสี่ยงผลการศึกษาได้คู่มือการประเมินความเสี่ยงของโรงงานอุตสาหกรรมวุ้นเส้นที่เป็นกรณีศึกษา ซึ่งพบว่า (1) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมีปัจจัยจากสภาพการทำงานไม่ปลอดภัยและการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของพนักงาน โดยมีกิจกรรมที่มีความเสี่ยงระดับที่ยอมรับไม่ได้ 2 กิจกรรม ความเสี่ยงระดับสูง 54 กิจกรรม และความเสี่ยงระดับปานกลาง 9 กิจกรรม (2) การเสนอแนะแนวทางเพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยงโดยจัดให้มีการติดตามตรวจสอบสภาพการทำงานในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงปานกลาง กำหนดมาตรการจัดการที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการทำงานในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ ให้หยุดการดำเนินกิจกรรมและปรับปรุงแก้ไข อย่างเร่งด่วนจนสามารถลดระดับความเสี่ยงของกิจกรรมนั้นได้ จึงเริ่มดำเนินกิจกรรมใหม่ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือ ในการประเมินความเสี่ยงจะต้องอาศัยผู้ประเมินความเสี่ยงที่มีความรู้ความเข้าใจและใช้เทคนิคสำหรับการประเมินที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้โรงงานทราบถึงสถานะของปัญหาอย่างครบถ้วนทุกปัญหา สามารถวางแผนการจัดการได้อย่างถูกต้อง และควรเลือกเทคนิคในการประเมินที่มีความเหมาะสมกับแต่ละกิจกรรมหรือกระบวนการผลิต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12670
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_139479.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons