Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12675
Title: แนวทางการจัดระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย
Other Titles: A suggestive management for the rabies surveillance system in Thailand
Authors: สมโภช รติโอฬาร
ธีรศักดิ์ ชักนำ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรคกลัวน้ำ
การเฝ้าระวังโรค
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนซึ่งประเทศไทยกำหนดเป้าหมายที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป ภายในปี พ.ศ. 2563 จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าจากหน่วยงานทั้งสุขภาพคนและสุขภาพสัตว์การศึกษาแนวทางการจัดระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคพิษสุนัขบ้า (2) วิเคราะห์ปัญหาของระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าที่มีอยู่ และ (3) เสนอแนวทางการจัดระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย สำหรับการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปการศึกษาทำโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยจากข้อมูลการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในคน การเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และระบบรายงานผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ตามตัวแปรบุคคล สถานที่ และเวลา สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน อัตราตาย ร้อยละและค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ปัญหาของระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อเสนอแนวทางการเฝ้าระวังโรคพิษ สุนัขบ้าในประเทศไทยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ในการศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และพิสัยอินเทอร์ ควอไทล์ ผลการศึกษาพบว่า (1) สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนซึ่งประเทศไทยกำหนดเป้าหมายที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป ภายในปี พ.ศ. 2563 จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าจากหน่วยงานทั้งสุขภาพคนและสุขภาพสัตว์การศึกษาแนวทางการจัดระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคพิษสุนัขบ้า (2) วิเคราะห์ปัญหาของระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าที่มีอยู่ และ (3) เสนอแนวทางการจัดระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย สำหรับการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปการศึกษาทำโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย จากข้อมูลการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าในคน การเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และระบบรายงาน ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ตามตัวแปรบุคคล สถานที่ และเวลา สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน อัตราตาย ร้อยละและ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ปัญหาของระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อเสนอแนวทางการเฝ้าระวังโรคพิษ สุนัขบ้าในประเทศไทยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ในการศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และพิสัยอินเทอร์ ควอไทล์ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้ามีแนวโน้มลดลง แต่จำนวนและชนิดตัวอย่างหัวสัตว์ส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้า ไม่เป็นตัวแทนของสัตว์รังโรคที่แท้จริง สุนัขเป็นสัตว์รังโรคที่สำคัญที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกสุนัขน้อยกว่า 3 เดือน และเป็นสัตว์มีเจ้าของ (2) ปัญหาของระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าที่พบคือ การตัดหัวสัตว์เพื่อการ เฝ้าระวังโรคมีความยุ่งยาก การลดจำนวนห้องปฏิบัติการตรวจหัวสัตว์ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงการส่งตรวจได้ (3) แนวทางการจัดระบบเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยต้องบูรณาการระบบการเฝ้าระวังทั้งสามระบบเข้าด้วยกัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเข้าร่วมในกิจกรรมการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งในคนและในสัตว์มากยิ่งขึ้น นโยบายการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าต้องควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายข้อแนะนำจากการวิจัยในอนาคตคือ ควรมีการประมาณการการฉีดวัคซีนควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และศึกษาถึงการครบถ้วนของการฉีดวัคซีนของผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12675
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_146062.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons