กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12678
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราของเกษตรกรตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An extension of integrated farming in rubber plantation for farmers in Lo Yung Sub-district,Takua Thung district, Phang-Nga Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน
ทิพากร เอี่ยวสิโป
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พลสราญ สราญรมย์
คำสำคัญ: เกษตรกรรมแบบผสมผสาน
สวนยาง--ไทย--พังงา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพการทำเกษตรผสมผสานของเกษตรกร 2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสานของเกษตรกร 3) ความคิดเห็นและความต้องการส่งเสริมเกษตรผสมผสานของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรผสมผสานของเกษตรกร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรผสมผสานของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีจำนวนพื้นที่ถือครองทางการเกษตรที่เป็นของตนเอง เฉลี่ย 11.39 ไร่ ประสบการณ์ทำการเกษตร เฉลี่ย 26.05 ปี รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 53,651.49 บาท/ปี สภาพพื้นที่ทำการเกษตรเป็นที่ราบมากที่สุด การทำการเกษตรมีทั้งการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยเป็นพืชผสมผสานกับสัตว์มากที่สุด 2) ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรผสมผสานของเกษตรกร พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จากคำถาม 15 ข้อ ตอบได้ถูกต้องเฉลี่ย 14.39 ข้อ แหล่งความรู้ที่เกษตรกรได้รับโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย แต่ในสื่อกลุ่มและสื่อบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสานพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการลดต้นทุน ความต้องการส่งเสริมเกษตรผสมผสาน พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านวิธีการส่งเสริม ได้แก่ การฝึกอบรม และ การสาธิต 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรผสมผสาน พบว่า แรงงานในครัวเรือน ระดับความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสาน แหล่งความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสาน ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสาน ปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรผสมผสาน มีความเกี่ยวข้องกับการทำการเกษตรผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5) ปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตรผสมผสาน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรเสนอแนะให้มีแปลงเรียนรู้เกษตรผสมผสานในพื้นที่
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12678
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons