กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12682
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines on operational development of community pest management centers in Nong Ya Sai district of Suphan Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม ชัยวัฒน์ อุยานันท์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ |
คำสำคัญ: | การบริหารองค์การ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 2) การได้รับการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 3) การดำเนินงานและความพึงพอใจต่อการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนของสมาชิก 4) ปัญหาในการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 5) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ร้อยละ 58.0 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย55.93 ปี ร้อยละ 62.0 จบชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.08 คน ทุกคนเป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร มีระยะเวลาในการเป็นสมาชิก ศจช. เฉลี่ย 8.31 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา รายได้ของครัวเรือนจากภาคการเกษตร เฉลี่ย 169,453.33 บาท/ปี มีหนี้สินเฉลี่ย 142,826.09 บาท มีพื้นที่ตนเองเฉลี่ย 19.74 ไร่ 2) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้รับความรู้จากสื่อบุคคลมากที่สุด โดยได้รับจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด 3) การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีการดำเนินงานน้อยที่สุด คือ มีบริการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างแก่เกษตรกร และมีความพึงพอใจในต่อการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ศูนย์มีการกำหนดให้คัดเลือกสมาชิก ศจช. เป็นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนเดียวกัน 4) ปัญหาในการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยประเด็นที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ขาดการบริการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างแก่เกษตรกร 5) เกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ในภาพรวมในระดับมาก โดยประเด็นเห็นด้วยมากที่สุด คือ ควรมีการเก็บข้อมูลแปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12682 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License