กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12683
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนของเกษตรกรในจังหวัดระนอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Farmer participation in the operations of community soil and fertilizer management centers in Ranong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน
ฐิตาภัสร์ พัฒนมณีศักดิ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พลสราญ สราญรมย์
คำสำคัญ: ศูนย์จัดการปุ๋ยชุมชน--การจัดการ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนของเกษตรกร 2) ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานและประโยชน์ของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนของเกษตรกร 3) ความต้องการและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนของเกษตรกรและ 4) ปัญหา สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงานศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนของเกษตรกร พบว่าอยู่ในระดับมาก ส่วนแหล่งความรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยเฉพาะจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์และสื่อมวลชน 2) เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก โดยเฉพาะเรื่องการบันทึกข้อมูล การรวบรวมความต้องการแม่ปุ๋ยและจัดหาให้สมาชิก ส่วนความคิดเห็นต่อประโยชน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะเรื่องทำให้มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยหมักน้ำหมัก การเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้อง การผสมปุ๋ยใช้เอง 3) เกษตรกรมีความต้องการด้านงบประมาณมากที่สุด รองลงมาคือด้านความรู้ ในส่วนของการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งทางด้านกิจกรรมศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ด้านองค์ประกอบของศูนย์ และด้านบทบาทและภารกิจ 4) ด้านปัญหาของเกษตรกร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะปัญหาด้านงบประมาณ รองลงมาคือปัญหาด้านการปฏิบัติ และปัญหาด้านความรู้ ในส่วนสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า จุดแข็งได้แก่ เกษตรกรมีความรู้ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มอยู่เสมอ จุดอ่อนคือขาดการบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่ม ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกด้านโอกาสพบว่า มีการบูรณาการกับกลุ่มเกษตรกรหลายกลุ่มและ หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนแต่มีอุปสรรคคือการสนับสนุนไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร ผลวิเคราะห์ดินล่าช้าไม่ทันกับช่วงเวลาและเกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม ลดจำนวนครั้งของกิจกรรม และเพิ่มเติมการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12683
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons