กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12696
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยด้านสมรรถนะและจิตวิทยาของผู้ให้บริการที่มีผลต่อนวัตกรรมองค์กรของห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรียม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Competency and psychology factors of service providers affecting organization innovation at the Emporium Department Store
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีย์ เข็มทอง
นันท์นภัส สรวมทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การสร้างความประทับใจ (จิตวิทยา)
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
ห้างสรรพสินค้า
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสำคัญของนวัตกรรมองค์กรของห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรียม (2) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของนวัตกรรมองค์กรของห้างสรรพสินค้าดิ เอ็มโพเรียม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ปัจจัยด้านสมรรถนะของผู้ให้บริการที่มีผลต่อนวัตกรรมองค์กรของห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรียม และ (4) ปัจจัยด้านจิตวิทยาของผู้ให้บริการที่มีผลต่อนวัตกรรมองค์กรของห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรียม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ให้บริการของห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มโพเรียม ที่ให้บริการลูกค้าทั้งในส่วนหน้าและส่วนหลัง รวมทั้งสิ้น 667 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการคำนวณจากสูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้จำนวนตัวอย่าง 267 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ให้บริการให้ความสำคัญต่อนวัตกรรมองค์กรของห้างสรรพสินค้าดิ เอ็ม โพเรียม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ให้บริการให้ความสำคัญต่อนวัตกรรมด้านกระบวนการ และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก ส่วนนวัตกรรมด้านการบริการอยู่ในระดับปานกลาง (2) การเปรียบเทียบระดับความสำคัญของนวัตกรรมองค์กรตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าผู้ให้บริการที่มีอายุ และสังกัดหน่วยงานที่แตกต่างกันให้ความสำคัญต่อนวัตกรรมองค์กร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) สมรรถนะหลัก และสมรถถนะตามตำแหน่งงานมีผลต่อนวัตกรรมองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สามารถร่วมกันพยากรณ์การผันแปรของนวัตกรรมองค์กรคิดเป็นร้อยละ 72 (4) ปัจจัยด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับบุคลิกภาพ รูปแบบการดำเนินชีวิต และการรับรู้คุณค่ามีผลต่อนวัตกรรมองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สามารถร่วมกันพยากรณ์การผันแปรของนวัตกรรมองค์กร คิดเป็นร้อยละ 78
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12696
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons