กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12697
ชื่อเรื่อง: นโยบายเงินปันผลและความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดัชนี THSI ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Dividend policy and stock prices volatility of listed companies in the THSI index in the Stock Exchange of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัลยานี ภาคอัต
จันทร์เพ็ญ เลี้ยงใจพานิช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: เงินปันผล
ราคาหลักทรัพย์
ดัชนีราคาหลักทรัพย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษานโยบายเงินปันผลและความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดัชนี THSI ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ (2) วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายเงินปันผลต่อความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดัชนี THSI ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากประชากรคือ บริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในกลุ่มดัชนี THSI ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีข้อมูลครบถ้วนและเป็นไปตามเงื่อนไขของการศึกษาจำนวน 26 บริษัท รวม 130 ข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2564 วิธีการที่ใช้ในการศึกษาคือสมการถดถอยทั้งแบบฟิกเอฟเฟคและแบบแรนดอมเอฟเฟคสถิติที่ใช้ในการศึกษาคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าสถิติทีผลการศึกษาพบว่า (1) เงินปันผลต่อหุ้น อัตราการจ่ายเงินปันผล และอัตราผลตอบแทนเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดัชนี THSI โดยเฉลี่ยประมาณ 1.22 บาท ร้อยละ 49.17 และ 3.88 ตามลำดับ ในขณะที่ค่าสูงสุดเท่ากับ 7.35 บาท ร้อยละ 86.76 และ 11.31 ตามลำดับ และค่าต่ำสุดประมาณ 0.03 บาท ร้อยละ 3.48 และ 0.44 ตามลำดับ สำหรับความผันผวนของราคาหลักทรัพย์มีค่าเฉลี่ยประมาณ 0.22 และค่าสูงสุดและต่ำสุดคือ 1.62 และ 0.01 ตามลำดับ (2) นโยบายเงินปันผลซึ่งวัดโดยอัตราการจ่ายเงินปันผลส่งผลกระทบทางบวกต่อความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มดัชนี THSI ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีและสินทรัพย์รวมส่งผลกระทบทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12697
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons