Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12705
Title: ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมาตรฐาน ISO 15189 และ ISO 15190 ในมุมมองของผู้ให้บริการเพื่อการรักษาพยาบาล
Other Titles: Factors related to quality improvement Medical laboratories of community hospitals in the southern border provinces according to ISO 15189 and ISO 15190 standards from the perspective of healthcare providers
Authors: พาณี สีตกะลิน
นพดล สีสุข
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์--มาตรฐาน
โรงพยาบาลชุมชน--การรับรองคุณภาพ
โรงพยาบาลชุมชน--การควบคุมคุณภาพ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล (2) ระดับการมีส่วนร่วม (3)ระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และ(4)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน ISO 15189 และ ISO 15190 ของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมุมมองของผู้ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลประชากรที่ศึกษาคือบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลที่ใช้ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 382 คน กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลด้านการมีส่วนร่วม และด้านคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน ISO 15189 และ ISO 15190 มีค่าความเที่ยง 0.96 และ0.96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) บุคลากรส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 38.15 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีปฏิบัติงานในระดับปฏิบัติการ ระยะเวลาปฏิบัติงานช่วง 6-10 ปี ไม่เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพร้อยละ80.07 เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพร้อยละ60.82 (2)ระดับการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางที่ค่าเฉลี่ย 2.81 (3) ระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 3.86 และ (4)ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่อายุและระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์นอกจากนี้ยังพบว่าการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมุมมองของบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลที่ใช้บริการจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 (r=0.441)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12705
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168972.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons