Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12709
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชรี ผาสุขth_TH
dc.contributor.authorจีรนันท์ รอดสาย-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-08-22T06:27:20Z-
dc.date.available2024-08-22T06:27:20Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12709-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพของผู้ประกอบการในจังหวัดลำปาง 2) ผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพ 3) แนวทางการพัฒนาธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพในจังหวัดลำปาง จำนวน 79 ราย และมีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 65 ราย คำนวณโดยสูตรทาโร่ยามาเน ระดับค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุระดับ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพในจังหวัดลำปาง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ระยะเวลาเฉลี่ยในการดำเนินธุรกิจ 7 ปี การให้บริการหลักของธุรกิจ คือ นวดไทย นวดเท้าเพื่อสุขภาพ นวดน้ำมันและสปาตัว ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ซึ่งมีรายได้หลักมาจากการให้บริการลูกค้าที่มารับบริการด้วยตนเองที่หน้าร้าน กำไรสุทธิลดลงเฉลี่ยร้อยละ 50 จากกำไรที่เคยได้รับในสภาวะปกติ 2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ 0.05 คือจำนวนช่องทางรายได้และผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการตามลำดับ โดยที่ถ้าจำนวนช่องทางรายได้เพิ่มขึ้น 1 ช่องทางจะส่งผลทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7,508 บาทต่อเดือน โดยมีความยืดหยุ่นเท่ากับ 0.64 กล่าวคือ เมื่อรายได้จากการเพิ่มช่องทางการให้บริการเพิ่มขึ้น 1% ส่งผลให้กำไรเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 0.64% จากกำไรเฉลี่ยในภาวะปกติ และผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 ระดับ จะส่งผลทำให้กำไรสุทธิลดลง 4,397 บาทต่อเดือน โดยมีค่าความยืดหยุ่น 1.21 กล่าวคือเมื่อผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น 1% ส่งผลให้กำไรสุทธิลดลง 1.21% จากกำไรเฉลี่ยในภาวะปกติ โดยผลกระทบที่ได้รับจากการวิเคราะห์ได้รับอิทธิพลสืบเนื่องจากความแปรปรวนในระดับที่สูงกว่าคือขนาดธุรกิจและกลุ่มธุรกิจ ที่ร้อยละ 44.5 3) แนวทางในการพัฒนาธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพควรมีการให้บริการและผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 มีการพัฒนาเทคนิคการให้บริการ เช่นเทคนิคการนวดและเทคนิคการให้บริการสปาให้มีความหลากหลายและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านระบบออนไลน์th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectธุรกิจสปา--ไทยth_TH
dc.subjectการนวด--ไทยth_TH
dc.titleการวิเคราะห์พหุระดับของผลกระทบต่อธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษาผู้ประกอบการในจังหวัดลำปางth_TH
dc.title.alternativeMulti-level analysis of the impact on spa and massage business during Coronavirus 2019 Pandemic : a case study of entrepreneurs in Lampang Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis Study aims to explore 1) spa and massage business conditions of Performance in Lampang Province; 2) impact on spa and massage business to business operations of entrepreneurs; and 3) spa and massage business development guideline during the coronavirus 2019 pandemic. The populations in this study were 79 massage and spa entrepreneurs in Lampang Province individuals, and the sample were 65 individuals. Taro Yamane approach was used with the significant level of 0.05.This study explored descriptive statistics analysis and Multi-level Regression analysis. The results found that 1) the majority of spa and massage entrepreneur in Lampang Province was female with an average age of 51, had secondary education with the duration of the time in the business of 7 years. The form of spa and massage services were mainly Thai massage service, foot massage service , oil massage service and spa service. During the coronavirus 2019 pandemic the business’s gross income was less than 10,000 bath per month, and the profit decreased by 50% when compared to the normal time. 2) The factors affecting the spa and massage business during the coronavirus 2019 pandemic at significance levels 0.01, 0.05 were: the channel of service and the confidence of clients respectively. With an increase in 1 channel of service, there was an increase in profit of 7,508 bath per month. Elasticity was 0.64. Then the channel of service increased 1%, and, as a result, the profit increased 0.64% from that of the normal time. With a change in the client confidence of 1%, then there was a decrease in profit of 4,397 bath per month, and elasticity equaled to 1.21. The client confidence impact increased 1%, and, as a result, the profit decreased 1.21% from that of the normal time. The analysis indicated that the factors were influenced by the high level of variance in the business size and business group in Lampang Province at 44.5%. 3) Guidelines for the development of spa and massage entrepreneurs in Lampang included services and compliance to the standards set by the Ministry of Public Health and Health Establishment Act, B.E. 2559, development of skilled workers in service delivery and products such as massage techniques and spa service techniques and an increase sale productivity with online systemen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168985.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons