Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12709
Title: การวิเคราะห์พหุระดับของผลกระทบต่อธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษาผู้ประกอบการในจังหวัดลำปาง
Other Titles: Multi-level analysis of the impact on spa and massage business during Coronavirus 2019 Pandemic : a case study of entrepreneurs in Lampang Province
Authors: พัชรี ผาสุข
จีรนันท์ รอดสาย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Keywords: ธุรกิจสปาไทย
การนวดไทย
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพของผู้ประกอบการในจังหวัดลำปาง 2) ผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพ 3) แนวทางการพัฒนาธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพในจังหวัดลำปาง จำนวน 79 ราย และมีขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 65 ราย คำนวณโดยสูตรทาโร่ยามาเน ระดับค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุระดับ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพในจังหวัดลำปาง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ระยะเวลาเฉลี่ยในการดำเนินธุรกิจ 7 ปี การให้บริการหลักของธุรกิจ คือ นวดไทย นวดเท้าเพื่อสุขภาพ นวดน้ำมันและสปาตัว ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ซึ่งมีรายได้หลักมาจากการให้บริการลูกค้าที่มารับบริการด้วยตนเองที่หน้าร้าน กำไรสุทธิลดลงเฉลี่ยร้อยละ 50 จากกำไรที่เคยได้รับในสภาวะปกติ 2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ 0.05 คือจำนวนช่องทางรายได้และผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการตามลำดับ โดยที่ถ้าจำนวนช่องทางรายได้เพิ่มขึ้น 1 ช่องทางจะส่งผลทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7,508 บาทต่อเดือน โดยมีความยืดหยุ่นเท่ากับ 0.64 กล่าวคือ เมื่อรายได้จากการเพิ่มช่องทางการให้บริการเพิ่มขึ้น 1% ส่งผลให้กำไรเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 0.64% จากกำไรเฉลี่ยในภาวะปกติ และผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 ระดับ จะส่งผลทำให้กำไรสุทธิลดลง 4,397 บาทต่อเดือน โดยมีค่าความยืดหยุ่น 1.21 กล่าวคือเมื่อผลกระทบด้านความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น 1% ส่งผลให้กำไรสุทธิลดลง 1.21% จากกำไรเฉลี่ยในภาวะปกติ โดยผลกระทบที่ได้รับจากการวิเคราะห์ได้รับอิทธิพลสืบเนื่องจากความแปรปรวนในระดับที่สูงกว่าคือขนาดธุรกิจและกลุ่มธุรกิจ ที่ร้อยละ 44.5 3) แนวทางในการพัฒนาธุรกิจสปาและนวดเพื่อสุขภาพควรมีการให้บริการและผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 มีการพัฒนาเทคนิคการให้บริการ เช่นเทคนิคการนวดและเทคนิคการให้บริการสปาให้มีความหลากหลายและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านระบบออนไลน์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12709
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168985.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons