Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12712
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนูญ โต๊ะยามาth_TH
dc.contributor.authorประสงค์ อุตสาหปันth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-08-22T06:44:14Z-
dc.date.available2024-08-22T06:44:14Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12712en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร และ 3) เหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์และเหตุผลทางด้านการตลาดในการตัดสินใจซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรของเกษตรกรในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน การวิจัยใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง โดยการกำหนดโควตาและการสุ่มตามความสะดวกจาก เกษตรกรใน 5 ตำบล ของอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยให้หัวหน้าครอบครัวหรือตัวแทนเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า 1) เครื่องจักรกลที่เกษตรกรในอำเภอบ้านโฮ่งซื้อ ตามลำดับ ได้แก่ เครื่องพ่นยา คิดเป็นร้อยละ 41.3 เครื่องสูบน้ำ ร้อยละ 29.5 และ เครื่องตัดหญ้า ร้อยละ 29.3 โดยมีมูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อเครื่องเท่ากับ 6,806.42 บาท 7,943.00 บาท และ 5,568.46 บาท ตามลำดับ มีวัตถุประสงค์ในการซื้อเพื่อใช้งานเองเป็นหลัก โดยซื้อจากร้านค้านอกอำเภอบ้านโฮ่ง ส่วนสื่อที่มีผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรที่ซื้อส่วนใหญ่จากเพื่อนแนะนำและปากต่อปาก 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการทำงานการเกษตร ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน ขนาดพื้นที่เพาะปลูก การประกอบอาชีพทางการเกษตรของครอบครัว และลักษณะการถือครองที่ดินทำการเกษตร โดยเกษตรกรที่มีอายุมากขึ้น/มีที่ดินทำการเกษตรเป็นของตนเองทั้งหมด มีโอกาสที่จะซื้อเครื่องสูบน้ำมากกว่าซื้อเครื่องตัดหญ้า 1.048 เท่า และ 2.646 เท่า ตามลำดับ เกษตรกรที่มีระยะเวลาในการทำงานการเกษตรมากขึ้น/ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก มีโอกาสที่จะซื้อเครื่องสูบน้ำน้อยกว่าซื้อเครื่องตัดหญ้า 0.051 เท่า และ 0.575 เท่า ตามลำดับ ในขณะที่เกษตรกรที่มีขนาดพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น/จบระดับประถมศึกษาและสูงกว่ามัธยมศึกษา/ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก มีโอกาสที่จะซื้อเครื่องพ่นยาน้อยกว่าซื้อเครื่องตัดหญ้า 0.044 เท่า 0.526 เท่า และ 0.524 เท่า ตามลำดับ 3) เหตุผลสำคัญทางด้านเศรษฐศาสตร์ในการซื้อเครื่องจักรกล เรียงตามลำดับ ได้แก่ การได้รับผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นจากการใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน การลดปัญหาค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น และการได้รับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ส่วนเหตุผลสำคัญทางด้านการตลาดในการซื้อเครื่องจักรกล เรียงตามลำดับ ได้แก่ เครื่องจักรกลใช้งานง่าย ราคาเหมาะสมกับตัวเครื่องจักรกล มีศูนย์บริการซ่อมพร้อมอะไหล่คอยบริการอย่างอบอุ่น และมีใบรับประกันคุณภาพของเครื่องจักรกล สำหรับข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้จำหน่ายในอำเภอควรเพิ่มความหลากหลายของสินค้าให้เกษตรกรได้เลือกซื้อมากขึ้น 2) ผู้จำหน่ายควรนำสินค้าที่มีคุณภาพดีและราคาไม่สูงมากมาบริการให้เกษตรกร 3) ผู้จำหน่ายควรเพิ่มบริการหลังการขายและมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำเครื่องจักรกลไปใช้งานให้เหมาะสม และ 4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีบริการข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตรประเภทต่างๆเพื่อให้เกษตรสามารถเลือกซื้อเครื่องจักรและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectเครื่องจักรกลการเกษตร--การจัดซื้อth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์การลงทุนth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรของเกษตรกรในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูนth_TH
dc.title.alternativeFactors influencing the purchase of agricultural machinery by farmers in Ban Hong District, Lamphun Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study: 1) purchasing behavior toward agricultural machinery; 2) factors affecting farmers’ decisions to purchase agricultural machinery; and 3) economic and marketing reasons in the decision to purchase agricultural machinery by farmers in Ban Hong district, Lamphun province. The study used data from 400 samples gathered through quota setting and convenience sampling methods from farmers in 5 sub-districts of Ban Hong district, Lamphun province. The data were collected from the head of households or representatives and were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and multinomial logistic regression. The results of the study were as follows: 1) Machinery that the farmers bought were sprayers, water pumps/electric water pumps, and lawnmowers, which accounted for 41.3%, 29.5%, and 29.3%, respectively. The average purchase value per device was 6,806.42 baht, 7,943.00 baht, and 5,568.46 baht. The purchase's purpose was mainly for personal use. They bought it from the shops outside the Ban Hong district. The media, which affected the perception of the machinery, was mostly from friends and word of mouth. 2) Factors affecting the purchase decision of agricultural machinery, significance at the .10 level, were age, duration of agricultural work, education level, cultivating area size, family farming occupation, and nature of agricultural landholding. Older farmers who hold whole farms had a better chance of purchasing a water pump than a lawnmower, (1.048, 2.646 times respectively). Farmers with more duration of agriculture work and doing agriculture as their main occupations had less likely to buy a pump than a lawnmower, (0.051, 0.575 times respectively). Famers with greater farmland sizes, primary or higher than secondary educational levels, and main occupations in agriculture were less likely to purchase sprayers than lawnmowers, (0.044, 0.526 and 0.524 times respectively). 3) The main economic reasons for the purchase of machinery were an increase in monetary return after using the machinery instead of labor, a lessening of the problem of higher wages, and an increase in yield per rai, respectively. The main marketing reasons for the purchase of machinery were easy-to-use machinery, suitable prices, warmly serviced repair centers with spare parts, and quality guarantee certificates for the machinery, respectively. The suggestions from the study findings are as follows: 1) the sellers in the districts should increase the variety of products for farmers to choose to buy; 2) the sellers should offer good quality products with not very high prices to serve farmers; 3) the sellers should supply the after-sales service as well as provide advice on the proper use of the machine, and 4) relevant agencies should provide information on the use and maintenance of various types of agricultural machinery for farmers to select and utilize them for the maximum benefit.en_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168990.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons