กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12712
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรของเกษตรกรในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors influencing the purchase of agricultural machinery by farmers in Ban Hong District, Lamphun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มนูญ โต๊ะยามา ประสงค์ อุตสาหปัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เครื่องจักรกลการเกษตร--การจัดซื้อ การวิเคราะห์การลงทุน |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร และ 3) เหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์และเหตุผลทางด้านการตลาดในการตัดสินใจซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรของเกษตรกรในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน การวิจัยใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง โดยการกำหนดโควตาและการสุ่มตามความสะดวกจาก เกษตรกรใน 5 ตำบล ของอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยให้หัวหน้าครอบครัวหรือตัวแทนเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า 1) เครื่องจักรกลที่เกษตรกรในอำเภอบ้านโฮ่งซื้อ ตามลำดับ ได้แก่ เครื่องพ่นยา คิดเป็นร้อยละ 41.3 เครื่องสูบน้ำ ร้อยละ 29.5 และ เครื่องตัดหญ้า ร้อยละ 29.3 โดยมีมูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อเครื่องเท่ากับ 6,806.42 บาท 7,943.00 บาท และ 5,568.46 บาท ตามลำดับ มีวัตถุประสงค์ในการซื้อเพื่อใช้งานเองเป็นหลัก โดยซื้อจากร้านค้านอกอำเภอบ้านโฮ่ง ส่วนสื่อที่มีผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรที่ซื้อส่วนใหญ่จากเพื่อนแนะนำและปากต่อปาก 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการทำงานการเกษตร ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน ขนาดพื้นที่เพาะปลูก การประกอบอาชีพทางการเกษตรของครอบครัว และลักษณะการถือครองที่ดินทำการเกษตร โดยเกษตรกรที่มีอายุมากขึ้น/มีที่ดินทำการเกษตรเป็นของตนเองทั้งหมด มีโอกาสที่จะซื้อเครื่องสูบน้ำมากกว่าซื้อเครื่องตัดหญ้า 1.048 เท่า และ 2.646 เท่า ตามลำดับ เกษตรกรที่มีระยะเวลาในการทำงานการเกษตรมากขึ้น/ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก มีโอกาสที่จะซื้อเครื่องสูบน้ำน้อยกว่าซื้อเครื่องตัดหญ้า 0.051 เท่า และ 0.575 เท่า ตามลำดับ ในขณะที่เกษตรกรที่มีขนาดพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น/จบระดับประถมศึกษาและสูงกว่ามัธยมศึกษา/ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก มีโอกาสที่จะซื้อเครื่องพ่นยาน้อยกว่าซื้อเครื่องตัดหญ้า 0.044 เท่า 0.526 เท่า และ 0.524 เท่า ตามลำดับ 3) เหตุผลสำคัญทางด้านเศรษฐศาสตร์ในการซื้อเครื่องจักรกล เรียงตามลำดับ ได้แก่ การได้รับผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นจากการใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน การลดปัญหาค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น และการได้รับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ส่วนเหตุผลสำคัญทางด้านการตลาดในการซื้อเครื่องจักรกล เรียงตามลำดับ ได้แก่ เครื่องจักรกลใช้งานง่าย ราคาเหมาะสมกับตัวเครื่องจักรกล มีศูนย์บริการซ่อมพร้อมอะไหล่คอยบริการอย่างอบอุ่น และมีใบรับประกันคุณภาพของเครื่องจักรกล สำหรับข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้จำหน่ายในอำเภอควรเพิ่มความหลากหลายของสินค้าให้เกษตรกรได้เลือกซื้อมากขึ้น 2) ผู้จำหน่ายควรนำสินค้าที่มีคุณภาพดีและราคาไม่สูงมากมาบริการให้เกษตรกร 3) ผู้จำหน่ายควรเพิ่มบริการหลังการขายและมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำเครื่องจักรกลไปใช้งานให้เหมาะสม และ 4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีบริการข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตรประเภทต่างๆเพื่อให้เกษตรสามารถเลือกซื้อเครื่องจักรและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12712 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168990.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License