Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12717
Title: การจัดการปุ๋ยในการผลิตปาล์มนํ้ามันของเกษตรกรต้นแบบศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จังหวัดพังงา
Other Titles: Fertilizer management to oil palm production of farmers of Agricultural Learning Centre (ALC) in Phang Nga Province
Authors: บุณฑริกา นันทา
อุไรวรรณ สุกด้วง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: ปุ๋ย
ปาล์มน้ำมัน--การผลิต
สินค้าเกษตร
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การใช้ปุ๋ยในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรต้นแบบแปลงเรียนรู้ปาล์มน้ำมันของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จังหวัดพังงา 2) ศึกษาปัญหาการจัดการปุ๋ยของ ศพก. จังหวัดพังงา 3) เพื่อหาแนวทางในการจัดการใช้ปุ๋ยเพื่อผลิตปาล์มน้ำมันที่มีประสิทธิภาพของ ศพก. จังหวัดพังงา ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้ปุ๋ยของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามาถจัดกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่ม โดยใช้ ปริมาณผลผลิตเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยมากกว่า 5,000 กก./ไร่/ปี พบว่าเกษตรกรกลุ่มนี้ทุกรายมีการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินก่อนการใส่ปุ๋ย โดยมีการใส่ปุ๋ยเชิงประกอบ สูตร 15-15-15 อัตราเฉลี่ย 1.5 ก.ก/ต้น/ปี ร่วมกับปุ๋ยเชิงเดี่ยวสูตร 21-0-0 46-0-0 และ 0-0-60 อัตราเฉลี่ย 1.5 1.5 และ 1.0 กิโลกรัม/ต้น/ปีตามลำดับ มีการใส่ธาตุอาหารรอง คือ โบรอน และแมกนีเซียม และปุ๋ยอินทรีย์ มีการใส่ปุ๋ย 3 - 4 ครั้ง/ปี และใส่สารปรับปรุงดิน กลุ่มที่ 2 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยมากกว่า 4,000 กก./ไร่/ปี จำนวน 7 ราย พบว่า มีการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชก่อนการใส่ปุ๋ย โดยมีการใส่ปุ๋ยเชิงประกอบ สูตร 13-13-21 และ 17-7-35 อัตราเฉลี่ย 2 และ 4กิโลกรัม/ต้น/ปีตามลำดับ ร่วมกับปุ๋ยเชิงเดี่ยวสูตร 21-0-0 46-0-0 และ 0-0-60 อัตราเฉลี่ย 6 2 และ 4.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี ตามลำดับการการใส่ธาตุอาการรอง คือ โบรอน มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และเกษตรกร 4 คน ใส่สารปรับปรุงดิน กลุ่มที่ 3 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยมากกว่า 3,000 กก./ไร่/ปี พบว่า มีเกษตรกร 1 คน มีการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินก่อนใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยเชิงเดี่ยวสูตร 21-0-0 และ 46-0-0 อัตราเฉลี่ย 2.5 และ 5 ก.ก/ต้น/ปี ตามลำดับ มีการใส่ปุ๋ย 2 - 3 ครั้ง/ปี เกษตรกรทุกทรายมีการใส่สารปรับปรุงดิน 2) ปัญหาการจัดการปุ๋ยของ ศพก. จังหวัดพังงา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการใช้ปุ๋ย สภาพดินเป็นดินกรด และใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่น้อย เนื่องจากปุ๋ยเคมีมีราคาแพง 3) แนวทางในการจัดการใช้ปุ๋ยเพื่อผลิตปาล์มน้ำมันที่มีประสิทธิภาพของ ศพก.จังหวัดพังงา คือ (1) ควรตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการใส่ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต (2) ควรปรับปรุงดินให้มีค่าความเป็นกรดเป็นต่างที่เหมาะสมกับการปลูกปาล์มเพื่อให้การปลดปล่อยธาตุอาหารให้ดีขึ้น (3) การใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ย ปุ๋ยเคมี ร่วมกับธาตุอาหารรองและปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในติดและปรับปรุงโครงสร้างติน และควรใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำทางวิชาการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12717
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168362.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons