Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12719
Title: | ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนายกเทศมนตรีนครยะลา |
Other Titles: | Strategic leadership of mayor of Yala City Municipality |
Authors: | จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ ดาวนภา เพชรจันทร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | ภาวะผู้นำชุมชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์ความสำเร็จการบริหารงานของนายกเทศมนตรีนครยะลา 2) ลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนายกเทศมนตรีนครยะลา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารจำนวน 5 คน กลุ่มพนักงานเทศบาล จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสำรวจ เอกสารแบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการแบบสามเส้าและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า 1) สี่กลยุทธ์ที่โดดเด่นของนายกเทศมนตรีนครยะลา ในการบริหารงานเทศบาลนครยะลา ได้แก่ กลยุทธ์ด้านการประสานความขัดแย้งและเสริมสร้างสันติสุข กลยุทธ์ด้านการบริหารองค์กร กลยุทธ์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กลยุทธ์ด้านการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจ โครงการที่โดดเด่น และประสบความสำเร็จภายใต้ การบริหารจัดการของนายกเทศมนตรีนครยะลา 7 โครงการ ได้แก่ โครงการมหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน โครงการออร์เคสตร้าเยาวชนเทศบาลนครยะลา โครงการศาสนาสัมพันธ์ โครงการคืนยะลา ให้คนยะลา โครงการค่ายเยาวชนสำนึกรักท้องถิ่นเสริมสร้างความสมานฉันท์ โครงการนวัตกรรมสร้างแบรนด์เมืองภายใต้อัตลักษณ์เมืองยะลา และ โครงการยะลามาราธอน 2) นายกเทศมนตรีนครยะลามีลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่โดดเด่น 8 ประการ คือ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้บริหารที่เป็นต้นแบบให้กับบุคลากร เป็นผู้มีความเข้าใจบริบทของเมืองและการบริหารงานท้องถิ่น เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้และทักษะในการสื่อสาร เป็นนักพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ เป็นผู้ที่มีทักษะในการจัดการแบบมีส่วนร่วม เป็นผู้มีความสามารถในการประสานความขัดแย้ง เป็นผู้บริหารที่เข้าถึงและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12719 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168981.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License