Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12725
Title: ทักษะทางการเงินที่ส่งผลต่อสุขภาพทางการเงินของบุคลากร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Other Titles: Financial literacy affecting personnel’s financial health of the faculty of Associated Medical Sciences, Chiang Mai University
Authors: ธัญญรัศน์ วศวรรณวัฒน์
กัลยาณี ตรีสุวรรณ, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเทคนิคการแพทย์
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การเงินส่วนบุคคล--การจัดการ
สุขภาพ--การวางแผน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับสุขภาพทางการเงิน (2) ระดับทักษะทางการเงิน (3) ความสัมพันธ์ของสุขภาพทางการเงินกับทักษะทางการเงินและ (4) อิทธิพลของทักษะทางการเงินที่มีต่อสุขภาพทางการเงินของบุคลากรคณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสํารวจ ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จํานวน 251 คน กาหนดขนาดของกลุ ํ ่มตัวอยางด้วยสูตรของทาโร ยามาเน่ได้จํานวน 124 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ประยุกต์ จากธนาคารแห่งประเทศไทยและองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงอันดับและการวิเคราะห์เชิงพหุตัวแปร ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีสุขภาพทางการเงินในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 46รองลงมาคือ ระดับอ่อนแอ และระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 36.3 และ17.7 ตามลําดับ (2) ส่วนใหญ่มีทักษะทางการเงิน อยู่ในระดับสูง คิดเป็ นร้อยละ 81.5 และไม่พบผู้ที่มีทักษะทางการเงินตํ่า (3) สุขภาพทางการเงินมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับทักษะทางการเงินและ (4) ทักษะทางการเงินมีอิทธิพลต่อสุขภาพทางการเงิน โดยผู้ที่มีทักษะทางการเงินในระดับสูงมีโอกาสที่จะมีระดับสุขภาพทางการเงินสูงขึ้น 3.7 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีทักษะทางการเงินในระดับตํ่าถึงปานกลาง โดยองค์ประกอบของทักษะทางการเงิน ได้แก่ ความรู้พฤติกรรมและทัศนคติทางการเงิน สามารถร่วมกันเป็นตัวแปรพยากรณ์โอกาส ที่จะเกิดสุขภาพทางการเงินในระดับดีมากหรือระดับปานกลาง หรือระดับอ่อนแอ ได้ร้อยละ23.1
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12725
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_161243.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons