Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12726
Title: | กลยุทธ์การตลาดบริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด |
Other Titles: | Marketing strategy of Amway (Thailand) Company Limited |
Authors: | ปรีชา ศรีศักดิ์หิรัญ กัลยา อาริภู, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | บริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การตลาดขายตรงหลายระดับ ธุรกิจขายตรง การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การตลาด บริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดของ บริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด 3) เพื่อศึกษาสถานการณ์การแข่งขันในตลาดสินค้าขายตรง ดำเนินการศึกษาโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา บรรยายเปรียบเทียบ เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น สมาคมขายตรง งานวิจัยต่าง ๆ เป็นต้น การศึกษา ศึกษาสภาวะแวดล้อมทั่วไปในตลาดสินค้าขายตรง การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของบริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทคู่แข่ง วิเคราะห์การแข่งขันและแรงกดดัน 5 ประการ (Five Forces Model ของบริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด และศึกษาเปรียบเทียบกลยุทยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) และบริษัทคู่แข่ง ผลการศึกษากลยุทธ์การตลาดบริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด พบว่า 1) ด้านกลยุทธ์ทางการตลาล บริษัทเน้นการสร้างกลยุทธ์ความแตกต่างในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมที่เข้มข้น ใช้งานได้ยาวนานเป็นผู้นำด้านคุณภาพในด้านราคาเน้นการตั้งราคาสูงเพื่อเน้นความเป็นผู้นำด้านคุณภาพ เน้นผู้บริโภคระดับบนที่มีรายให้สูง ด้านจัดจำหน่าย ผู้บริโภคสามารถซื้อผ่านนักธุรกิจอิสระของบริษัทแอมเวย์ฯ หรือสมัครเป็นสมาชิก เพื่อซื้อสินค้าได้ด้วยตัวเองที่ร้านแอมเวย์ ช็อป ด้านการส่งเสริมการตลาดเเอมเวย์มีการส่งเสริมการตลาดด้านต่าง ๆ เช่น มีการโฆษณาทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารและอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมส่งเสริมการขายรายเดือนแก่ผู้บริโภค 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดกลยุทธของบริษัทแอมเวย์ ( ประเทศไทย) จำกัด มีอิทธิพลมาจากคู่แข่งและผู้บริโภค โดยพบว่าสินค้าทดแทนมีอิทธิพลที่สุดกับบริษัท ดังมั่น บริษัทจึงเน้นการกำหนดกลยุทธสร้างความแตกต่างด้านต่าง ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้มีความโดดเล่นเหนือคู่แข่ง เน้นการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องทำให้ผลิตภัณฑ์ยากแก่การเลียนแบบ 3) สถานการณ์การแข่งขันในตลาดขายตรงปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมาก มีบริษัทที่จดทะเบียนและเข้าร่วมกับสมาคมการขายตรงแห่งประเทศไทยอยู่ จำนวน 27 บริษัท และบริษัทอีกจำนวนมากที่ไม่ได้จดทะเบียน ดังนั้นบริษัทแอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงต้อรักษาการเป็นผู้นำในตลาดและพัฒนาปรับปรุงกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12726 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_112637.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License