กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12729
ชื่อเรื่อง: | สมรรถภาพการได้ยินและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของคนงานที่ปฏิบัติงานในสายการผลิตบริษัทผลิตลำโพงจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Audiometry and related factors of production line workers in Nakornsawan speaker factory |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปีติ พูนไชยศรี อารีพิศ พรหมรัตน์, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การได้ยิน การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสมรรถภาพการได้ยินของคนงานที่ปฏิบัติงานในสายการผลิตของบริษัทผลิตลำโพงจังหวัดนครสวรรค์และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ โดยการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือคนงานที่ปฏิบัติงานในสายการผลิต จำนวน 87 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์คนงาน เครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน(Audiometer) และเครื่องตรวจวัดระดับความดังเสียง(Sound Level Meter) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Window สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ χ 2 – test ผลการศึกษาพบว่า คนงานส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 54.0 มีอายุระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 58.6 มีสถานภาพสมรสคู่สูงสุด ร้อยละ 48.3 การศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 27.6 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่มีรายได้ 4,001 – 6,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.9 คนงานร้อยละ 81.6 มีภูมิลำเนาจังหวัดนครสวรรค์ อายุการทำงานของคนงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2 – 5 ปี ร้อยละ 44.8 ไม่เคยทำงานที่อื่นมาก่อน ร้อยละ 63.2 แผนกปั๊มขึ้นรูปมีระดับความดังเสียงสูงที่สุด 98 เดซิเบลเอ คนงานร้อยละ 65.5 ปฏิบัติงานในแผนกที่มีระดับความดังเสียงตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ และมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงร้อยละ 26.3 ในด้านสุขภาพ ปัจจุบันคนงานทั้งหมดไม่ป่วยเป็นโรคที่มีผลต่อสมรรถภาพการได้ยิน ผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินคนงานมีสมรรถภาพการได้ยินผิดปกติ(เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน)ร้อยละ 82.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่เพศ และประวัติการเคยมีอาการเกี่ยวกับหูในอดีต ซึ่งโรงงานควรมีมาตรการเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพการได้ยินที่เกิดขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12729 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_85765.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 579.81 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License