Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1273
Title: การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย : กรณีศึกษา บ้านนาบัว ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
Other Titles: Economic, social and cultural change in the Phuthai ethnic group : a case study of Nabua Village, Khok Hin Hae Sub-district, Renu Nakhon District, Nakhon Phanom Province
Authors: สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปริญญาโท
สาขาวิชาศิลปศาสตร์
ศรีสุข ผาอินทร์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
กลุ่มชาติพันธุ์--ไทย--นครพนม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม--ไทย--นครพนม
ผู้ไท
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยบ้านนาบัว ตําบลโคกหินแฮ่ อําเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม (2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย บ้านนาบัว ตําบลโคกหินแฮ่ อําเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ไทย บ้าน นาบัว ตําบลโคกหินแฮ่ อําเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นําชุมชน จํานวน 3 ราย ชาวบ้าน จํานวน 13 รายกลุ่มผู้รู้ จํานวน 3 ราย อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจํานวน 2 ราย และข้าราชการจํานวน 3 ราย รวมจํานวนทั้งสิ้น 24 ราย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสํารวจชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัย พบว่า (1) ความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทยในอดีตเขียนว่า “ผู้ไท” หมายถึง อ้ายลาวหรือคนดาว มีถิ่นฐานอยู่แถบเมืองแถงเมืองไล แค้วนสิบสองจุไทย (ปัจจุบันคือเมืองเดียนเบียนฟูอยู่ทางตอนเหนือของเวียดนาม) ต่อมาไทยสร้างอาณาจักรจึงเติมอักษร “ย” ต่อท้าย หมายถึง คนไทยกลุ่มหนึ่งส่วนผู้ไทยบ้านนาบัวอพยพมาจากบ้านโพนสาวเอ้ อําเภอเรณูนครตั้งชุมชนเมื่อ พ.ศ. 2434 (2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพเศรษฐกิจ คือการเปลี่ยนแปลงการผลิต การบริโภค การแบ่งสรรค์ การแลกเปลี่ยนเทคนิควิทยาการผลิต และการค้าที่พึ่งพาภายนอกซึ่งเป็นลักษณะของ ระบบทุนนิยมและบริโภคนิยม ส่วนการเปลียนแปลงทางสังคม เป็นการเปลียนแปลงกลุ่มสังคมครอบครัว ชุมชน ชนชั้นและสหจร เช่น จากครอบครัวขยายเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดียว และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เป็นการเปลียนแปลงค่านิยม ศาสนา ภาษา นันทนาการ การศึกษาคมนาคม วิทยาศาสตร์ การเมืองและสาธารณสุขเช่น การรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยแพทย์พื้นบ้านเปลียนเป็นการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน (3) ปัจจัยที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทย ได้แก่ ปัจจัยภายในเช่นปัจจัยด้านนิเวศวิทยา ด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยภายนอก เช่นจากนโยบายของรัฐ และการเมือง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1273
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (2).pdfเอกสารฉบับเต็ม39.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons