Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12734
Title: | การลดละอองน้ำมันและเสียงโดยการปรับปรุงระบบการพ่นชิ้นงานในเครื่องจักรของโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ |
Other Titles: | Reduction of oil mist and noise level by improvement of oil blow system of CNC machine in an electronic component producion factory |
Authors: | จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ อภิรมย์ เอี่ยมสอาด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มลพิษทางเสียง--การป้องกันและควบคุม มลพิษทางอากาศ--การป้องกันและควบคุม การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัดถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระบบการพ่นชิ้นงานออกจากอุปกรณ์จับยึดของเครื่องจักรโดยใช้ระบบอากาศ (2) ตรวจวัดระดับเสียงดังและความเข้มข้นของละอองน้ำมันของระบบพ่นชิ้นงาน ออกจากอุปกรณ์จับยึดโดยใช้ระบบอากาศ (3) ศึกษาระบบการพ่นชิ้นงานออกจากอุปกรณ์จับยึด ของเครื่องจักร โดยใช้ระบบน้ำมัน (4) ตรวจวัดระดับเสียงดังและความเข้มข้นของละอองน้ำมันของระบบพ่นชิ้นงานออกจากอุปกรณ์จับยึดโดยใช้ระบบน้ำมันและ (5) เปรียบเทียบระหว่างระดับเสียงดังและความเข้มข้นของละอองน้ำมันของระบบพ่นชิ้นงานออกจากอุปกรณ์จับยึดระหว่างการใช้ระบบอากาศและระบบน้ำมัน การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจออกแบบและทคลองสร้างระบบการพ่นชิ้นงานในเครื่องจักรของเพื่อลดปริมาณเสียงดังและความเข้มข้นของละอองน้ำมันของโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การทคลองมีการเก็บตัวอย่างตรวจวัดก่อนและหลังการดิดตั้งระบบพ่นชิ้นงาน เพื่อลดปริมาณเสียงดังและความเข้มข้นของละอองน้ำมันและนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการทคสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ระบบการพ่นชิ้นงานออกจากอุปกรณ์จับยึดโดยใช้ระบบอากาศมีขั้นตอนการทำงานที่ทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของละอองน้ำมันและมีเสียงดังในปริมาณมาก (2) ระบบการพ่นชิ้นงานออกจากอุปกรณ์จับยึดโดยใช้ระบบอากาศมีค่าความเข้มข้นของละอองน้ำมันและค่าความดังเสียงเฉลี่ยไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดแต่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานได้ (3) ระบบการพ่นขึ้นงานออกจากอุปกรณ์จับยึดโดยใช้ระบบน้ำมันมีขั้นตอนการทำงานที่ลคค่าความดังเสียงและลดปริมาณละอองน้ำมันลงโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิต (4)ระบบการพ่นชิ้นงานออกจากอุปกรณ์จับยึดโดยใช้ระบบน้ำมันสามารถลดความเข้มข้นของละอองน้ำมันและลคความดังเสียงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานและ (5) ค่าความดังเสียงเฉลี่ยหลังการปรับปรุงมีความแตกต่างกับก่อนปรับปรุง อย่างมีนัยสำคัญ (0.05) จากค่าเฉลี่ยพบว่าหลังการติดตั้งมีค่าความดังเสียงลดลงโดยมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณเสียงร้อยละ 9.02 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และค่าความเข้มข้นของละอองน้ำมันเฉลี่ยหลังปรับปรุงแตกต่างกับก่อนปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ (0.05) ซึ่งพบว่าหลังปรับปรุงมีค่าความเข้มข้นของละอองน้ำมันลดลงในพื้นที่การผลิตร้อยละ 25.46 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12734 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_135753.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License