Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12735
Title: | การประเมินการแพร่กระจายและทำนายผลกระทบจากการรั่วไหลของแก๊สปิโตรเลียมเหลวโดยการประยุกต์ใช้โปรแกรมอโลฮา คามิโอ และมาร์พล็อทกรณีศึกษาโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Dispersing assessment and impact prediction of Liquefied Petroleum Gas (LPG) leakage by ALOHA, CAMEO and MARPLOT computer programs : a case study of LPG tank in a furniture manufacture, Samutprakarn Province |
Authors: | ศริศักดิ์ สุนทรไชย อาทิตย์ชัย เตชสกุลวิทย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์--ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม--ไทย--สมุทรปราการ ก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว--มาตรการความปลอดภัย |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมิน และทำนายการรั่วไหล และทิศทางการแพร่กระจายของก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากแหล่งกาเนิด 2) ประเมิน และทำนายผลกระทบที่เกิดขึ้นจากก๊าซปิโตรเลียมเหลวหากเกิดเหตุการณ์รั่วไหลโดยใช้โปรแกรมอโลฮา โปรแรมคามิโอ และโปรแกรมมาร์พล็อท และ 3) จัดทำแผนงานในการป้องกันและรองรับภาวะฉุกเฉินจากการรั่วไหลของก๊าซปิโตรเลียมเหลว วิธีการศึกษาทำโดยการสารวจข้อมูลของถังบรรจุ และจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ และสร้างสถานการณ์จำลองโดยการกำหนดข้อมูลตัวแปรต่างๆ คือ ขนาดรูรั่ว และข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาเพื่อนาข้อมูลเข้าโปรแกรมอโลฮา คามิโอ และมาร์พล็อท ทาให้ได้รัศมีการแพร่กระจาย และระดับความรุนแรงในกรณีต่างๆ และนามาจัดทาแผนการป้องกัน และรองรับภาวะฉุกเฉิน ผลการศึกษาพบว่า 1) เมื่อเกิดเหตุรั่วที่ท่อส่งก๊าซบริเวณใต้ถังขนาดรูรั่ว 2 นิ้ว ทิศทางลม ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็วลม 7.3 นอต อุณหภูมิ 34.7 องศาเซลเซียสจะมีระยะเวลาในการรั่วไหลประมาณ 4 นาที อัตรารั่วไหลเฉลี่ยสูงสุด 1,000 กิโลกรัมต่อนาที ปริมาณการรั่วไหลทั้งหมด 3,175 กิโลกรัม กลุ่มหมอกก๊าซแพร่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 2) จากการประเมินและทำนายผลกระทบจากการรั่วไหลที่สาคัญพบว่า อาจเกิดเพลิงไหม้ และการระเบิด ซึ่งควรเฝ้าระวังไม่ให้เกิดประกายไฟในระยะ 289 เมตร เพราะเป็นช่วงที่เกิดการลุกติดไฟได้ กรณีการระเบิดของกลุ่มหมอกก๊าซไวไฟในรัศมี 55 เมตร จะเกิดคลื่นความดันที่ทาให้อาคารเสียหาย คนได้รับการบาดเจ็บ กรณีที่เกิดการลุกติดไฟทาให้เกิดเปลวไฟพุ่งด้วยแรงดันพบว่า รังสีความร้อนในระยะรัศมี 37 เมตร มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต และตัวอาคารถูกทำลาย ในระยะ 47 เมตรจะทำให้เกิดแผลไหม้ระดับที่ 2 และระยะ 74 เมตรทำให้คน เกิดแผลพุพอง และพื้นที่ที่ได้รับกรณีการระเบิดแบบบลีวี รัศมีผลกระทบที่ระยะ 201 เมตร ทำให้เสียชีวิต ระยะ 284 เมตรทำให้เกิดแผลไหม้ระดับที่ 2 และ 444 เมตรทาให้เกิดแผลไหม้ผุพอง โดยผลกระทบจากกรณีทั้งหมดครอบคลุมพื้นที่ คือโรงงาน A ที่เกิดเหตุ โรงงานข้างเคียง และชุมชน และ 3) การจัดทำแผนการป้องกัน และรองรับภาวะฉุกเฉินสาหรับกรณีก๊าซปิโตรเลียมเหลวรั่วไหลแบ่งเป็น แผนก่อนเกิดเหตุ แผนขณะเกิดเหตุ และแผนหลังเกิดเหตุที่ให้ความสำคัญกับแผนก่อนเกิดเหตุเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันเชิงรุก สาหรับจุดรวมพลกาหนดให้อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 395 เมตร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12735 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_148375.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License