กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12739
ชื่อเรื่อง: วิถีชีวิตครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านป่าเด็งใต้ ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Way of family life among the Pga K’nyau (Karen) ethnic group, Baan Padengtai, Padeng Subdistrict, Kaeng Krachan District, Phetchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อำไพรัตน์ อักษรพรหม
นำชัย ศิลาโภชน์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พรรณปพร ลีวิโรจน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์
กะเหรี่ยงสะกอ--ความเป็นอยู่และประเพณี
กลุ่มชาติพันธุ์--ไทย--เพชรบุรี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจวิถีชีวิตครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านป่าเด็งใต้ ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ที่อาศัยอยู่ใน หมู่บ้านป่าเด็งใต้ เจาะจงเลือกตัวอย่างจำนวน 10 ครอบครัว โดยเลือกครอบครัวที่มีผู้นำครอบครัว อายุ 21-39 ปี จำนวน 3 ครอบครัว อายุ 40-59 ปี จำนวน 3 ครอบครัว และอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 4 ครอบครัว เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ ครอบครัว 2) ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การพรรณนาความและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ครอบครัวกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอบ้านป่าเด็งใต้ 1) ข้อมูลทั่วไปของครอบครัว ได้แก่ เป็นครอบครัวขนาดใหญ่และมีบุตรจำนวนมากนับถือศาสนาคริสต์ การศึกษาค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทำไร่รายวัน สถานภาพการสมรสคือ แต่งงานมีครอบครัวแล้ว รายได้เฉลี่ยของครอบครัวประมาณ 6,800 บาท 2) ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว มีชายเป็นใหญ่ นิยมเลือกคู่ในกลุ่มเดียวกันและแยกครอบครัวหลังแต่งงาน สร้างบ้านเรือน แบบสมัยใหม่ติดแม่น้ำและรายล้อมด้วยธรรมชาติ เหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญพบว่า มีเหตุการณ์วิกฤต ในครอบครัวที่มีแนวโน้มเข้าสู่สภาวะครอบครัวล้มเหลวด้านเศรษฐกิจมีฝ่ายชายเป็นผู้หารายได้ หลัก รายรับต่ำ รายจ่ายสูง มีเงินออมต่ำ หนี้สินสูง ด้านสัมพันธภาพของครอบครัว พบว่า ให้ความ สำคัญต่อการทำบทบาทสมาชิกในครอบครัวต่ำ ไม่นิยมวางแผนการใช้เวลาร่วมกันเลี้ยงบุตรแบบ ให้พึ่งตนเองเร็ว เลี้ยงดูบุตรแบบไม่สนับสนุนและควบคุมน้อย ศรัทธากับความเชื่อทางศาสนาเคารพผู้นำ ไม่ชอบเรียกร้อง ไม่ขัดแย้งมีความเกรงใจไม่ชอบปฏิเสธ ชอบพึ่งพาอาศัยกัน มีความเกื้อกูลระหว่างญาติพี่น้อง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับชุมชนพบว่ามีลักษณะจิตอาสาและให้ความร่วมมือชุมชนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ผลวิจัยยังพบอีกว่า กลุ่มชาติพันธุ์มีวิถีชีวิตอยู่ในสองวิถี คือ วิถีแบบกึ่งดั้งเดิมและกระแสนิยม วิถีดั้งเดิมเป็นวิถีที่เรียบง่ายรักอิสระ วิถีชีวิตกระแสนิยม คือ กระแสความเจริญด้านเทคโนโลยีและสังคมการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12739
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons