Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12744
Title: ต้นทุนกิจกรรมบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมดโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม
Other Titles: Unit cost of computerized x-ray for whole abdomen in the hospitals under the Ministry of Defence
Authors: พาณี สีตกะลิน
จุฑารัตน์ สอนชาวเรือ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ต้นทุนกิจกรรมบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด (CT Whole Abdomen) ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุและต้นทุนค่าลงทุน และ 2) เปรียบเทียบกับการเรียกเก็บตามสิทธิการรักษาในโรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ โดยกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คัดเลือกผู้ป่วยที่มารับบริการ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาศึกษา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีจำนวน 62 ราย การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด ครั้งนี้ใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม (Activity–Based Costing: ABC) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ชุด ชุดที่ 1 คือ พจนานุกรมกิจกรรมบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด ชุดที่ 2 คือ เกณฑ์การจำแนกประเภทของผู้ป่วย และชุดที่ 3 คือ แบบบันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมบริการ จำนวน 11 ตาราง และนาฬิกาจับเวลา สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1) ต้นทุนกิจกรรมบริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด คือ 1,555.77 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรง 165.03 บาท ต้นทุนค่าวัสดุ 1,343.40 บาท ต้นทุนค่าลงทุน 47.34 บาท อัตราส่วนต้นทุนค่าแรง: ต้นทุนค่าวัสดุ: ต้นทุนค่าลงทุน ร้อยละ 10.61 : 86.35 : 3.04 เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนตามกิจกรรมหลัก พบว่า (1) ต้นทุนกิจกรรมบริการนัดเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ จำนวน 2.14 บาท (2) ต้นทุนกิจกรรมบริการก่อนเข้ารับการตรวจ จำนวน 149.56 บาท (3) ต้นทุนกิจกรรมบริการขณะเข้ารับการตรวจ จำนวน 1,281.85 บาท และ (4) ต้นทุนกิจกรรมบริการหลังเข้ารับการตรวจ จำนวน 83.54 บาท และ 5) ผลเปรียบเทียบต้นทุนกิจกรรมตรวจกับการเรียกเก็บตามสิทธิการรักษาพบว่าสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าผลต่างจำนวน ขาดทุน 451.85 บาท สิทธิประกันสังคมผลต่าง ขาดทุนจำนวน 95.77 บาท เทียบเหมาจ่ายรายหัวต่อคนต่อปี และสิทธิชำระเงินเองกับสิทธิข้าราชเบิกจ่ายตรง ไม่มีผลต่างเรียกเก็บ เนื่องจากเรียกเก็บได้เต็มจำนวนจริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12744
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_150163.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons