Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12745
Title: เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลชุมชนกับของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า : กรณีศึกษาผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบที่ได้รับการส่งต่อมายังโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
Other Titles: Comparison of efficiencies in using clinical laboratory results of community hospitals and Pranangklao Hospital : a case study of appendectomy patients referred to Pranangklao Hospital
Authors: นิตยา เพ็ญศิรินภา
จเร ลีเลาหพงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี
การวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ
โรงพยาบาล--การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย
การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: ปัญหาความล่าช้าในการผ่าตัดไส้ติ่งจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยอาการทรุดลงขณะรอคอยผ่าตัดส่วนหนึ่งมาจากความล่าช้าของผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล ในกรณีผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนถ้าได้ใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ตามหลักการบริหารแบบลีนอาจลดระยะเวลารอคอยผ่าตัดไส้ติ่งลงได้ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ (1) ระยะเวลารอคอยผ่าตัด (2) ความถูกต้องในการวินิจฉัย และ (3) อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบระหว่างการใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลชุมชนกับของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ประชากรคือ เวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบจากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนนทบุรีและถูกส่งต่อมารักษาต่อที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าในช่วงระยะเวลาระหว่างตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2557 และมกราคม 2559 ถึงกันยายน 2559 จำนวน 271 ฉบับ กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกเวชระเบียนที่มีข้อมูลตามเกณฑ์ครบจำนวน 185 ฉบับ เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกรายการโดยมีความตรงของเนื้อหาทุกข้อมากกว่า 0.5 เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบแมนวิทนีย์ ยู และไคสแคว์ ตัวแปรควบคุม ได้แก่ เพศและอายุของผู้ป่วย ผลการวิจัยพบว่า (1) การใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลชุมชนและของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้ามีความแตกต่างกันของระยะเวลารอคอยผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยที่ใช้ผลตรวจของโรงพยาบาลชุมชนใช้ระยะเวลารอคอยผ่าตัดน้อยกว่าผู้ป่วยที่ใช้ผลตรวจของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 200.12 นาที (โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 568.50 นาที และโรงพยาบาลชุมชน 368.38 นาที) (2) ความถูกต้องในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ระหว่างผู้ป่วยที่มีการใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลชุมชนกับของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12745
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_153838.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons