Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12749
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorบุญเสริม หุตะแพทย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสมพงษ์ หลีเคราะห์, 2512--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-09-13T07:19:56Z-
dc.date.available2024-09-13T07:19:56Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12749-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง "กระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคมเพื่อพัฒนาเยาวชนของกลุ่มจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคม เพื่อพัฒนาเยาวชนของกลุ่มจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และวิเคราะห์ผลสำเร็จของการอบรมขัดเกลาทางสังคมเพื่อการพัฒนาเยาวชนของชุมชน โดยกลุ่มจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล วิธีการที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา ประชากรในการวิจัยมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแกนนำและสมาชิกกลุ่มจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล จำนวน 15 คน กลุ่มเยาวชนบ้านบ่อเจ็ดลูก จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า กลุ่มจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูกต้องการปลูกฝังให้เยาวชนบ้านบ่อเจ็ดลูกดำรงรักษาทรัพยากร ประเพณี วัฒนธรรมชุมชน และวิถีชีวิตที่ดีงามของคนชุมชนชายฝั่งทะเลบ้านบ่อเจ็ดลูก กลุ่มจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก จึงได้เริ่มกระบวนการรอบรมขัดเกลาทางสังคม ตั้งแต่ปี 2559 โดยดำเนินการเป็นขั้นตอน (1) พัฒนาให้คนในชุมชน แกนนำและผู้นำธรรมชาติ เปลี่ยนตัวเองมาเป็น "โค้ชชุมชน" (2) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโค้ชชุมชนกับเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย (3) ชวนเยาวชนทำกิจกรรมผ่านการเล่าเรื่อง (4) สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของเยาวชน (5) จัดตั้งกลุ่มเยาวชนให้เป็นเจ้าภาพงานจัดการท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ (6) ประสานงานเพื่อสนับสนุนให้เยาวชนสามารถดำเนินการด้วยตนเอง (7) เรียนรู้ผ่านการศึกษา "ของดี" ในชุมชน (8) สื่อสารการทำงานและสร้างความต่อเนื่องของงานจัดการท่องเที่ยวในชุมชน และ (9) เปลี่ยนแปลงตัวเยาวชนเองและเปลี่ยนมุมมองเพื่อให้เกิดการพัฒนาเยาวชนในชุมชนการดำเนินงานตามกระบวนการดังกล่าวทำให้เยาวชนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง คือ (1) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมที่เป็นเด็กแว๊นซ์ ติดน้ำกระท่อม มาเป็นแกนนำกลุ่มเยาวชน มีทักษะในการทำงานกลุ่ม สามารถออกแบบและจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนและชุมชน ให้เป็นที่ยอมรับจากคนในชุมชน (2) มีความเข้าใจชุมชน มองเห็นศักยภาพของชุมชน สามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาเป็นต้นทุนสำหรับการพัฒนาในรูปแบบองค์กรชุมชน ที่เน้นการพัฒนาเยาวชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ในประเด็นที่เด็กและเยาวชนสนใจ ควบคู่ไปกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งเน้นการจัดการภายในชุมชนเป็นหลัก โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน และให้พื้นที่กับการทำงานของกลุ่มเยาวชนโดยมีแกนนำกลุ่มจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูกเดิมเป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสังคมประกิตth_TH
dc.subjectเยาวชน--ไทย--สตูลth_TH
dc.titleกระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคมเพื่อพัฒนาเยาวชนของกลุ่มจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูลth_TH
dc.title.alternativeThe socialization Process for youth development of Ban Bo Jet Look tourism management group in Satun Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe study of “The Socialization Process for Youth Development of Ban Bo Jet Look Tourism Management Group in Satun Province” aims to study the socialization process for developing youth of community-based tourism management group, and to analyze the results of the socialization process for the youth development of community-based tourism management group in Ban Bo Jet Look in Satun Province. The research methodology is a case study in qualitative research. The 3 groups of population in Ban Bo Jet Look, Pak Nam sub-district, La-ngu district, Satun Province consisted of 15 members of a community tourism management group, 15 persons of the youth group, and 15 community leaders. Data collected by in-depth interviews and focus group discussion, analyzed by content analysis. The results of this research showed that the Ban Bo Jet Look Community Tourism Management Group determined to cultivate the youth to preserve the resources, traditions and culture of the community, and a good way of life of people in the coastal community. Therefore, started the socialization process since 2016 by taking 9 steps: (1) develop the community vocalist and natural leaders; (2) build a good relationship between community coaches and target youths; (3) invite youths through storytelling activities; (4) build a continuity of activities to create community coaching youth leaders; (5) establish a youth group to host an official tourism event; (6) coordinate to encourage youth to be self-sufficient; (7) learn through “good stuff” education in the community; (8) communicate work and create continuity of community tourism management; and (9) transform youth themselves and change their achievement of youth development in the community. This implementing process changed the youth in the community as follows: (1) behavior change from the group of youth riding a motorcycle causing trouble, and the youth addicted to cottage water, to become a leader of the youth group to design and organize activities for youth and community, and to be accepted by people in the community; (2) understanding the potential of the community that can be used as development costs and a learning base by focusing on youth development along with community tourism management within the community relevant agencies to support and provide space to work for youth groups with the former leaders of the Ban Bo Jet Look community tourism management group to achieve sustainability in youth development continuouslyen_US
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons