กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12749
ชื่อเรื่อง: | กระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคมเพื่อพัฒนาเยาวชนของกลุ่มจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Socialization Process for youth development of Ban Bo Jet Look tourism management group in Satun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรพร เสี้ยนสลาย สมพงษ์ หลีเคราะห์, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บุญเสริม หุตะแพทย์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์ สังคมประกิต เยาวชน--ไทย--สตูล |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่อง "กระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคมเพื่อพัฒนาเยาวชนของกลุ่มจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคม เพื่อพัฒนาเยาวชนของกลุ่มจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และวิเคราะห์ผลสำเร็จของการอบรมขัดเกลาทางสังคมเพื่อการพัฒนาเยาวชนของชุมชน โดยกลุ่มจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล วิธีการที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา ประชากรในการวิจัยมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแกนนำและสมาชิกกลุ่มจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล จำนวน 15 คน กลุ่มเยาวชนบ้านบ่อเจ็ดลูก จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 15 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า กลุ่มจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูกต้องการปลูกฝังให้เยาวชนบ้านบ่อเจ็ดลูกดำรงรักษาทรัพยากร ประเพณี วัฒนธรรมชุมชน และวิถีชีวิตที่ดีงามของคนชุมชนชายฝั่งทะเลบ้านบ่อเจ็ดลูก กลุ่มจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก จึงได้เริ่มกระบวนการรอบรมขัดเกลาทางสังคม ตั้งแต่ปี 2559 โดยดำเนินการเป็นขั้นตอน (1) พัฒนาให้คนในชุมชน แกนนำและผู้นำธรรมชาติ เปลี่ยนตัวเองมาเป็น "โค้ชชุมชน" (2) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโค้ชชุมชนกับเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย (3) ชวนเยาวชนทำกิจกรรมผ่านการเล่าเรื่อง (4) สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของเยาวชน (5) จัดตั้งกลุ่มเยาวชนให้เป็นเจ้าภาพงานจัดการท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ (6) ประสานงานเพื่อสนับสนุนให้เยาวชนสามารถดำเนินการด้วยตนเอง (7) เรียนรู้ผ่านการศึกษา "ของดี" ในชุมชน (8) สื่อสารการทำงานและสร้างความต่อเนื่องของงานจัดการท่องเที่ยวในชุมชน และ (9) เปลี่ยนแปลงตัวเยาวชนเองและเปลี่ยนมุมมองเพื่อให้เกิดการพัฒนาเยาวชนในชุมชนการดำเนินงานตามกระบวนการดังกล่าวทำให้เยาวชนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง คือ (1) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมที่เป็นเด็กแว๊นซ์ ติดน้ำกระท่อม มาเป็นแกนนำกลุ่มเยาวชน มีทักษะในการทำงานกลุ่ม สามารถออกแบบและจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนและชุมชน ให้เป็นที่ยอมรับจากคนในชุมชน (2) มีความเข้าใจชุมชน มองเห็นศักยภาพของชุมชน สามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาเป็นต้นทุนสำหรับการพัฒนาในรูปแบบองค์กรชุมชน ที่เน้นการพัฒนาเยาวชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ในประเด็นที่เด็กและเยาวชนสนใจ ควบคู่ไปกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งเน้นการจัดการภายในชุมชนเป็นหลัก โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน และให้พื้นที่กับการทำงานของกลุ่มเยาวชนโดยมีแกนนำกลุ่มจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูกเดิมเป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่อง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12749 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Hum-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.06 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License