Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12752
Title: | กลยุทธ์ทางการตลาดในโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย |
Other Titles: | Marketing strategy of a school lunch program for acceptability of parents and students in a kindergarten in Nong Khai Province |
Authors: | วศินา จันทรศิริ วุฒิชัย ศรีเจริญชัย, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สำอาง สืบสมาน อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์ โครงการอาหารกลางวัน โรงเรียนอนุบาล--อาหาร |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อกลยุทธ์ทางการตลาดในการจัดการโครงการอาหารกลางวัน (2) ศึกษาการยอมรับรายการอาหารกลางวันของนักเรียนต่อการจัดการโครงการอาหารกลางวัน (3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์ทางการตลาดกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการโครงการอาหารกลางวัน และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ทางการตลาดกับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการโครงการอาหารกลางวัน โรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดหนองคาย งานวิจัยนี้เป็นการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1-3 และผู้ปกครอง กลุ่มละ 130 คน ด้วยการสุ่มแบบโควต้า 1:1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสังเกตการยอมรับรายการอาหารกลางวันของนักเรียนในโครงการอาหารกลางวัน และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อกลยุทธ์ทางการตลาดในโครงการอาหารกลางวัน โดยพัฒนาขึ้นเอง มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.85 และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.706 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 130 คน ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001 - 20,000 บาท ประกอบธุรกิจส่วนตัว มีบุตรหลานที่ศึกษาปัจจุบัน 1 คน และจบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (1) ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อกลยุทธ์ทางการตลาดในการจัดโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (2) รายการอาหารกลางวันและอาหารว่างที่นักเรียนให้การยอมรับมากที่สุด ได้แก่ เมนูก๋วยจั๊บ แก้วมังกร ฟักทองบวด และนมพาสเจอไรส์ (3) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์ทางการตลาดกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการโครงการอาหารกลางวัน พบว่า เพศรายได้ และการศึกษา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอายุ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในประเด็นด้านผลิตภัณฑ์ ด้านอาชีพ พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในประเด็นด้านบุคลากร ด้านจำนวนบุตรหลานที่ศึกษาอยู่ปัจจุบัน พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในประเด็นด้านกระบวนการ (3) ส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ด้านมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ปกครองในทิศทางบวก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในระดับค่อนข้างต่ำ ด้านสถานที่ ด้านส่งเสริมการขาย ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในระดับปานกลาง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12752 |
Appears in Collections: | Hum-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License