กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12753
ชื่อเรื่อง: การบริหารความเสี่ยงความคลาดเคลื่อนทางยาในงานบริการจ่ายยาแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็งภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Risk management on medication errors for medication dispensing services of the Outpatient and the Inpatient departments in the Southern Cancer Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พาณี สีตกะลิน
ธณิศรา ลิมปกรณ์กุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี
ยา--การบริหาร
การบริหารความเสี่ยง
การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นกึ่งทดลอง 1 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชนิดและลักษณะของความคลาดเคลื่อนทางยาของงานบริการจ่ายยาแผนกผู้ป่วยนอกและใน 2) หาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาและ 3) เปรียบเทียบชนิด ลักษณะ ความคลาดเคลื่อนทางยาก่อนและหลังให้โปรแกรมการบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็งภาคใต้ ประชากรที่ศึกษาคือจำนวนใบสั่งยาทั้งปี จากงานบริการจ่ายยาแผนกผู้ป่วยนอก12,228 ใบ และผู้ป่วยใน 20,858 ใบ ในช่วงเวลา 1 ก.ค. -31 ธ.ค. 2558 กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบง่ายจำนวนใบสั่งยา จากแผนกผู้ป่วยนอก 3,040 ใบ และผู้ป่วยใน 5,026 ใบ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบฟอร์มและโปรแกรมบันทึกความคลาดเคลื่อนทางยา และโปรแกรมบันทึกความเสี่ยงความคลาดเคลื่อนทางยาคุณภาพของเครื่องมือคือการควบคุมใบบันทึกการใช้ยาผู้ป่วยใน ทุกใบในระบบการจ่ายยามีกระบวนการดำเนินการเหมือนกันทุก สถิติที่ใช้คืออัตราส่วน และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1) ในงานบริการจ่ายยาแผนกผู้ป่วยนอกและใน ทั้งก่อนและหลังให้โปรแกรมการบริหารความเสี่ยงเกิดจากกระบวนการก่อนจ่ายยามากที่สุด 2) ปัจจัยที่มากที่สุดที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาในทุกๆขั้นตอนคือไม่มีการตรวจสอบซ้ำ และ3) หลังให้โปรแกรมบริหารความเสี่ยงของงานบริการจ่ายยาแผนกผู้ป่วยนอกแล้วพบว่า ความคลาดเคลื่อนทางยาโดยรวมทุกขั้นตอนลดลงร้อยละ 30.40 การสั่งใช้ยา กระบวนการก่อนจ่ายยา การจ่ายยาลดลงร้อยละ21.98, 24.34 และ 56.68 ตามลำดับ ส่วนงานบริการจ่ายยาแผนกผู้ป่วยใน พบว่า ความคลาดเคลื่อนทางยาโดยรวมทุกขั้นตอนลดลงร้อยละ 52.86 จากการสั่งใช้ยาคัดลอกคำสั่งใช้ยากระบวนการก่อนจ่ายยาการจ่ายยาลดลงร้อยละ 70.10, 49.85, 46.22 และ 62.29 ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12753
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_150594.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons