Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12755
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพรทิพย์ กีระพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorฐิตารีย์ ภูฆัง, 2533--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-09-13T07:51:33Z-
dc.date.available2024-09-13T07:51:33Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12755-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(วิทยาศาสตร์สุขภาพ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับบรรยากาศองค์การ ระดับความเหนื่อยล้า และระดับการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพ (2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การ และความเหนื่อยล้ากับการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพ และ (3) อิทธิพลของปัจจัยดังกล่าวต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพทำงานแบบเต็มเวลาในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป และทำงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 415 คน กลุ่มตัวอย่าง 226 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามโรงพยาบาลและแผนก เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การ ความเหนื่อยล้าและการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพมีค่าความเที่ยง 0.61-0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้บรรยากาศองค์การโดยรวมอยู่ในระดับสูง ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง การลดค่าความเป็นบุคคลอยู่ในระดับต่ำ และความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับสูง ส่วนการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง (2) อายุ อายุงาน บรรยากาศองค์การ และความสำเร็จส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวก ส่วนความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ และการลดค่าความเป็นบุคคลมีความสัมพันธ์ทางลบกับการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพมี 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุงาน การเป็นส่วนหนึ่งขององค์การและสัมพันธภาพ มีผลเชิงบวก ส่วนการลดค่าความเป็นบุคคลและความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ มีผลเชิงลบต่อการคงอยู่ โดยร่วมกันทำนายคะแนนการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ36.0 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ผู้บริหารควรหาแนวทางลดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ส่งเสริมให้พยาบาลมองเห็นความสำคัญในการดูแลผู้รับบริการ และรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งที่มีค่าขององค์การ เพื่อธำรงรักษาพยาบาลวิชาชีพให้คงอยู่ในองค์การได้นานโดยเฉพาะในช่วงที่มีภาระงานมากจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectพยาบาล--ความเครียดในการทำงานth_TH
dc.subjectความล้าในที่ทำงานth_TH
dc.subjectสภาพแวดล้อมการทำงานth_TH
dc.titleบรรยากาศองค์การ ความเหนื่อยล้าและการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeOrganizational climate, burnout and retention of professional nurses in a private hospital chain in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study (1) organizational climate levels, burnout levels, and retention levels of professional nurses, (2) association between personal factors, organizational climate and burnout, and the retention score, and (3) influence of all factors on the professional nurses’ retention in a private hospital chain in Bangkok. This descriptive study involved a sample 226 professional nurses selected using the stratified sampling method from all 415 professional nurses who had been working as full-time nurses for at least 1 year in a private hospital chain during the COVID-19 pandemic. The instrument used to collect data was a questionnaire on personal factors, organizational climate, burnout and retention with reliability values of 0.61 to 0.91. Analysis of data used descriptive statistics, Chi-square test, Pearson product-moment correlation and stepwise multiple regression analysis. The results showed that, among all respondents: (1) they had the organizational climate at the high level, emotional exhaustion at the moderate level, depersonalization at the low level, personal achievement at the high level and retention at the moderate level; (2) their age, job experience, organizational climate and personal achievement were positively and significantly associated with the retention of professional nurses; but emotional exhaustion and depersonalization had a negative association with the retention; and (3) factors influencing the professional nurses’ retention consisted five factors; job experience, being part of the organization and relationships had positive influence, but depersonalization and emotional exhaustion had negative influence on the retention; all of these factors could predict 36% variance of the professional nurses’ retention scores. The study recommended that administrators should find out ways to reduce burnout levels, encourage personnel to recognize the importance of client care and feel being valuable part of the organization to maintain professional nurses’ long job tenure in the organization especially during the COVID-19 pandemicen_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons