กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12755
ชื่อเรื่อง: บรรยากาศองค์การ ความเหนื่อยล้าและการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organizational climate, burnout and retention of professional nurses in a private hospital chain in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา
ฐิตารีย์ ภูฆัง, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พรทิพย์ กีระพงษ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
พยาบาล--ความเครียดในการทำงาน
ความล้าในที่ทำงาน
สภาพแวดล้อมการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับบรรยากาศองค์การ ระดับความเหนื่อยล้า และระดับการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพ (2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การ และความเหนื่อยล้ากับการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพ และ (3) อิทธิพลของปัจจัยดังกล่าวต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพทำงานแบบเต็มเวลาในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป และทำงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 415 คน กลุ่มตัวอย่าง 226 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามโรงพยาบาลและแผนก เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การ ความเหนื่อยล้าและการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพมีค่าความเที่ยง 0.61-0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้บรรยากาศองค์การโดยรวมอยู่ในระดับสูง ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง การลดค่าความเป็นบุคคลอยู่ในระดับต่ำ และความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับสูง ส่วนการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง (2) อายุ อายุงาน บรรยากาศองค์การ และความสำเร็จส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวก ส่วนความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ และการลดค่าความเป็นบุคคลมีความสัมพันธ์ทางลบกับการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพมี 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุงาน การเป็นส่วนหนึ่งขององค์การและสัมพันธภาพ มีผลเชิงบวก ส่วนการลดค่าความเป็นบุคคลและความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ มีผลเชิงลบต่อการคงอยู่ โดยร่วมกันทำนายคะแนนการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ36.0 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ผู้บริหารควรหาแนวทางลดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ส่งเสริมให้พยาบาลมองเห็นความสำคัญในการดูแลผู้รับบริการ และรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งที่มีค่าขององค์การ เพื่อธำรงรักษาพยาบาลวิชาชีพให้คงอยู่ในองค์การได้นานโดยเฉพาะในช่วงที่มีภาระงานมากจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(วิทยาศาสตร์สุขภาพ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12755
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons