กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12762
ชื่อเรื่อง: คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่องานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Patients’ expected and perceived service qualities at emergency unit, Nongkhai Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พาณี สีตกะลิน
วริศรา เบ้านู
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลหนองคาย--บริการพยาบาลฉุกเฉิน
การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและการ รับบริการของผู้รับบริการที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย (2) ศึกษาระดับคุณภาพบริการ ตามความคาดหวัง (3) ระดับคุณภาพบริการตามการรับรู้ และ (4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างระดับคุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย จำนวน 4,620 คน กลุ่มอย่างสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม ประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ มีค่าความเที่ยง 0.989, 0.968 และ 0.878 ตามลำดับ มีค่าความตรง 0.89 สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.8 ระดับ ความรุนแรงของการเจ็บป่วยอยู่ตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงระดับมากที่สุดร้อยละ 75.7 ส่วนใหญ่มาใช้ บริการนอกเวลาราชการและได้กลับบ้านร้อยละ 66.8 และ 72.0 (2) ความคาดหวังต่อคุณภาพบริการ ทุกมิติในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (3) การรับรู้คุณภาพบริการ 4 มิติอยู่ในระดับมาก ยกเว้นมิติ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ อยู่ในระดับปานกลาง และ (4) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง ระดับคุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการพบว่า ในภาพรวมทุกมิติ มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนความคาดหวังสูงกว่าการรับรู้ โดยเฉพาะ มิติด้านความเป็นรูปธรรมของบริการมีความแตกต่างกันสูงกว่ามิติอื่น และมิติด้านการตอบสนองต่อ ผู้รับบริการมีความแตกต่างต่ำกว่ามิติอื่น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12762
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_157140.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons