Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12763
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กรของโรงพยาบาลผู้สูงอายุแมคเคน
Other Titles: Factors affecting staff's organizational commitment at McKean Senior Health Care Hospital
Authors: พาณี สีตกะลิน
วริทธิ์ อนุชิราชีวะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี
สถาบันแมคเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ
ความผูกพันต่อองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรโรงพยาบาลผู้สูงอายุแมคเคน (2) ระดับความสุขของบุคลากรโรงพยาบาลผู้สูงอายุแมคเคน ตามแนวคิดปัจจัยความสุข 8 มิติ (3) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร โรงพยาบาลผู้สูงอายุแมคเคน (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยความสุข 8 มิติ ที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรโรงพยาบาลผู้สูงอายุแมคเคน และ (5) พยากรณ์ปัจจัยที่มีความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลผู้สูงอายุแมคเคน ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลผู้สูงอายุแมคเคน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากรจำนวน 117 คน เครื่องที่ใช้คือแบบสอบถามตามมาตรฐานของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยความสุข 8 มิติ และความผูกพันต่อองค์กร ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคือมาทั้งสิ้น 103 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 88.03 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ไคสแควร์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบ (1) บุคลากรของโรงพยาบาลผู้สูงอายุแมคเคน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.1 มีสถานภาพ แต่งงาน ร้อยละ 57.3 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 54.4 เป็นบุคลากรระดับ ปฏิบัติการ ร้อยละ 80.6 (2) โดยภาพรวมปัจจัยความสุขอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยความสุขมิติจิตวิญญาณดี มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด (3) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลผู้สูงอายุแมคเคนอยู่ในระดับสูง (4) ปัจจัยส่วนบุคคลเรื่องรายได้ต่อเดือน และปัจจัยความสุขในมิติผ่อนคลายดี มิติจิตวิญญาณดี มิติครอบครัวดี มิติสังคมดี และมิติใฝ่รู้ดี มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กร และ (5) ปัจจัยความสุขมิติจิตวิญญาณดีและปัจจัยความสุขมิติครอบครัวสามารถร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์กรเพิ่มขึ้นได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12763
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_157893.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons