Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12764
Title: | ปัจจัยของความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยาแผนกบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยในโรงพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ ภาคตะวันออก |
Other Titles: | Factors of medication dispensing error in the In-patient Pharmacy Section at the Naval Medical Department Hospital, Eastern Region |
Authors: | พาณี สีตกะลิน วสันต์ จันทา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี ยา การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อุบัติการณ์ และ2ปัจจัยของความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยาในแผนกบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยใน 2) เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยาก่อนและหลังดำเนินการใช้โปรแกรม ในแผนกบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ ภาคตะวันออกประชากรที่ศึกษา คือ ใบบันทึกการใช้ยาผู้ป่วยในทั้งหมด 18,503 ใบ ในวันและเวลาปฏิบัติราชการ ช่วงก่อนดำเนินการโปรแกรมฝึกอบรม (วันที่ 1 กันยายน 2558 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2559) คุณภาพของเครื่องมือคือการควบคุมใบบันทึกการใช้ยาผู้ป่วยใน ทุกใบในระบบการจ่ายยามีกระบวนการดำเนินการเหมือนกันทุกใบ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบบันทึกความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยา และโปรแกรมฝึกอบรมความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยา ประกอบด้วยโปรแกรมย่อย 3 ด้าน ได้แก่ กระบวนการทำงาน ผลิตภัณฑ์ และบุคลากร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1) ชนิดของความเคลื่อนจากการจ่ายยาทั้งในช่วงก่อนและหลังดำเนินการอุบัติการณ์ที่พบมากที่สุด คือ การไม่ได้จ่ายยาตามแพทย์สั่ง สาเหตุของความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยากระบวนการทำงาน บุคลากร และผลิตภัณฑ์ ปัจจัยของความคลาดเคลื่อนคือ การปฏิบัติงานบกพร่อง ขั้นตอนปฏิบัติงานซับซ้อน และภาระงานที่มากเกินไป 2) เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยาก่อนและหลังดำเนินการใช้โปรแกรม พบการไม่ได้จ่ายยาตามแพทย์สั่งหลังดำเนินการโปรแกรมการฝึกอบรมความคลาดเคลื่อนลดลงจาก ร้อยละความคลาดเคลื่อนที่ลดลง 24.57 และ 3) พบว่า กระบวนการทำงาน ผลิตภัณฑ์ และบุคลากรลดลง การปฏิบัติงานบกพร่อง ขั้นตอน ปฏิบัติงานซับซ้อน และภาระงานที่มากเกินไปลดลง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12764 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_150596.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License