กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12767
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิภาพงานบริหารเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between personal and administrative factors and Pharmaceutical management effectiveness of Primary Care Units in Pakpayoon District, Phatthalung Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พาณี สีตกะลิน
สมร บุญวิสูตร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี
เวชภัณฑ์--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยส่วนบุคคล 2) ระดับปัจจัยทางการบริหาร 3) ระดับประสิทธิภาพงาน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพงานบริหารเวชภัณฑ์ และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิภาพงานบริหารเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประชากรที่ใช้ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตอำเภอปากพะยูน ทั้งหมด จำนวน 76 คน เครื่องมือคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ปัจจัยทางการบริหารและส่วนที่ 3 ประสิทธิภาพงานบริหารเวชภัณฑ์ มีค่าความตรง 0.85 และค่าความเที่ยง 0.89 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 71.05 อายุเฉลี่ย 38.40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 56.58 ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขร้อยละ 43.42 อายุราชการระหว่าง 1-10 ปี ร้อยละ 36.84 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านอายุราชการอยู่ในระดับสูงสุด ค่าเฉลี่ย 3.37 2) ระดับปัจจัยทางการบริหารอยู่ในระดับสูงค่าเฉลี่ย 3.30 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านพัฒนาบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุดค่าเฉลี่ย 3.57 3) ระดับประสิทธิภาพงานบริหารเวชภัณฑ์อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์อยู่ในระดับสูงสุด ค่าเฉลี่ย 3.08 4) ระดับปัจจัยส่วนบุคคลต่อประสิทธิภาพงานบริหารเวชภัณฑ์อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.27 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพงานบริหารเวชภัณฑ์มีความสัมพันธ์ระดับสูงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิภาพงานบริหารเวชภัณฑ์มีความสัมพันธ์ระดับสูงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ผลสำเร็จของการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปประกอบการตัดสินใจในการบริหารทรัพยากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานบริหารเวชภัณฑ์ของหน่วยปฐมภูมิให้เป็นไปตามมาตรฐานและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12767
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_150595.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons