Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12770
Title: | ผลของการใช้แผนการดูแลทางคลินิกของห้องผ่าตัด: กรณีศึกษาผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลเลิดสิน |
Other Titles: | Effect of clinical pathway implementation of operating room: a case study of total knee replacement patients at Lerdsin Hospital |
Authors: | นิตยา เพ็ญศิรินภา อำภา พ่วงสร้อย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลเลิดสิน. ห้องผ่าตัด การดูแลหลังศัลยกรรม ข้อเข่า--ศัลยกรรม ข้อเข่าเทียม การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระยะเวลาของกระบวนการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด และ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ระหว่างกลุ่มที่ใช้แผนการดูแลทางคลินิกกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้แผนการดูแลทางคลินิก ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลเลิดสิน เฉลี่ยเดือนละ 30 คน กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตามช่วงเวลา ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - 31 มกราคม พ.ศ. 2561 โดยกลุ่มควบคุม คือผู้ป่วยซึ่งไม่ได้ใช้แผนการดูแลทางคลินิกจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองคือ ผู้ป่วยใช้แผนการดูแลทางคลินิก จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน แผนการดูแลทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการทดลองประกอบด้วย แผนกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแผนการเยี่ยมก่อนผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และแผ่นพับความรู้การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกระยะเวลาผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า (1) เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาของกระบวนการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด กลุ่มควบคุมใช้ระยะเวลารวมเฉลี่ย 185.23 นาที มากกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 162.8 นาที โดยกลุ่มทดลองใช้เวลาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมเฉลี่ย 22.43 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละช่วงของกระบวนการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด พบว่าระยะรับผู้ป่วย ระยะรอผ่าตัด และ ระยะผ่าตัด กลุ่มทดลองใช้เวลาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีเฉพาะระยะออกจากห้องผ่าตัดที่ไม่พบความแตกกต่างกันของสองกลุ่ม และ (2) การเปรียบเทียบความพึงพอใจรวมของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมโดยทดสอบแล้วพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12770 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_157128.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License