กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12772
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวางแผนปลูกพืชเพื่อเสริมรายได้เกษตรกรของจังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Application of GIS in planning crop to supplement farm income in Phang Nga Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐพร เห็นเจริญเลิศ
กัญญาภัทร สุขแก้ว
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร --การศึกษาเฉพาะกรณี
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
การปลูกพืช--การวางแผน
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืชเสริม รายได้เกษตรกรจังหวัดพังงา ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พืชที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วย มะพร้าว กาแฟ และสับปะรด โดยใช้หลักการจำแนกของ FAO Framework (1983) แบ่งกลุ่มย่อย ตามระดับความเหมาะสมออกเป็น 4 ชั้น (Class) คือ ชั้นความเหมาะสมสูง (S1) ชั้นความเหมาะสม ปานกลาง (S2) ชั้นความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) และชั้นไม่มีความเหมาะสม (N) และ (2) วางแผนการ ใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชเพื่อเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรของจังหวัดพังงา ผลการศึกษาพบว่า สับปะรด มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 16.96 หรือ 195,578 ไร่ ของเนื้อที่จังหวัดพังงา ถัดมาเป็นมะพร้าว มีพื้นที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 0.51 หรือ 5,898 ไร่ ของเนื้อที่จังหวัดพังงา ส่วนกาแฟ มีพื้นที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 0.02 หรือ 265 ไร่ ของเนื้อที่จังหวัดพังงา และสามารถวางแผนการปลูกพืชเสริมรายได้ให้กับเกษตรกร โดยแบ่งชั้น ความเหมาะสมของดินออกเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและเหมาะสม ( S1 และ S2) ส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกพืชเพื่อเสริมรายได้ในครัวเรือน ส่วนพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) แนะนำให้ เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกยางพารา โดยปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีความเหมาะสมกับสภาพ พื้นที่และความต้องการของตลาด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12772
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_153853.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons