Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12776
Title: | การวิเคราะห์ทางสถิติและแนวโน้มของผลตอบรับประสบการณ์ของลูกค้าโดยใช้โปรแกรมภาษาอาร์ |
Other Titles: | Statistical and trend analysis of customer experience feedback using R-Programming Language |
Authors: | วฤษาย์ ร่มสายหยุด ฌาณิศา เม่นแต้ม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร --การศึกษาเฉพาะกรณี สถิติ--โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ทางสถิติและแนวโน้มผลตอบรับ ประสบการณ์ของลูกค้าโดยใช้โปรแกรมภาษาอาร์ และ 2) ประเมินความถูกต้องจากการวิเคราะห์ ทางสถิติและแนวโน้มผลตอบรับประสบการณ์ของลูกค้าโดยใช้โปรแกรมภาษาอาร์ การวิจัยนี้ ประกอบด้วยสองขั้นตอนหลักที่สำคัญ โดยขั้นตอนแรกจะเป็นการรวบรวบ ข้อมูลที่เกี่ยวกับความรู้สึกของผู้ใช้บริการจากเฟซบุ๊กแฟนเพจของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ประเทศไทย โดยในขั้นตอนดังกล่าวตัวจำแนกแบบนาอีฟเบย์ จะถูกนำมาใช้ในการสกัดคำจาก แต่ละประโยคภาษาไทย และวิเคราะห์ความรู้สึกของประโยค ขั้นตอนที่สองจะเป็นการเลือก ประโยคที่แสดงความรู้สึกเชิงลบ จำนวน 400 ประโยค จากนั้นจะทำการแยกประโยคออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) เพศ 2)โปรโมชัน 3)ปัญหาการบริการ และ 4)เวลาที่โพสต์ โดยในขั้นตอนดังกล่าวนี้ โปรแกรมภาษาอาร์ จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาคำสั่งในการวิเคราะห์ทางสถิติ ตรวจสอบ สมมติฐาน และทำการแสดงผลลัพธ์ด้วยวิชวลไลเซชั่นสำหรับการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและ การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จากผลการทดลองพบว่า ปัญหาการบริการในการติดต่อกับศูนย์บริการ มีความยากและ มีความล่าช้าในการตอบคำถาม อย่างไรก็ตามแนวโน้มผลตอบรับประสบการณ์ของลูกค้าและ ปัญหาการบริการนั้น มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 การประเมินผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน เพื่อกำหนดความแม่นยำของแบบจำลองการทำนาย จะขึ้นอยู่กับ 3 กลุ่มข้อมูลที่สำคัญ คือ เพศ โปรโมชัน และปัญหาการบริการ โดยมีค่าความ คลาดเคลื่อนมาตรฐานเท่ากับ ร้อยละ 1.046 เพื่อแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะทางด้านความแม่นยำของ โปรแกรมการใช้งาน ค่าแนวโน้มผลตอบรับประสบการณ์ของลูกค้าและค่าการวัดประสิทธิภาพ โดยรวม จะมีค่าเท่ากับร้อยละ 98.95 และร้อยละ 71 ตามลำดับ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12776 |
Appears in Collections: | Science Tech - Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_163286.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License