กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12776
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ทางสถิติและแนวโน้มของผลตอบรับประสบการณ์ของลูกค้าโดยใช้โปรแกรมภาษาอาร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Statistical and trend analysis of customer experience feedback using R-Programming Language
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วฤษาย์ ร่มสายหยุด
ฌาณิศา เม่นแต้ม, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--การศึกษาเฉพาะกรณี
สถิติ--โปรแกรมคอมพิวเตอร์
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ทางสถิติและแนวโน้มผลตอบรับประสบการณ์ของลูกค้าโดยใช้โปรแกรมภาษาอาร์ และ 2) ประเมินความถูกต้องจากการวิเคราะห์ ทางสถิติและแนวโน้มผลตอบรับประสบการณ์ของลูกค้าโดยใช้โปรแกรมภาษาอาร์ การวิจัยนี้ ประกอบด้วยสองขั้นตอนหลักที่สำคัญ โดยขั้นตอนแรกจะเป็นการรวบรวบ ข้อมูลที่เกี่ยวกับความรู้สึกของผู้ใช้บริการจากเฟซบุ๊กแฟนเพจของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย โดยในขั้นตอนดังกล่าวตัวจำแนกแบบนาอีฟเบย์ จะถูกนำมาใช้ในการสกัดคำจากแต่ละประโยคภาษาไทย และวิเคราะห์ความรู้สึกของประโยค ขั้นตอนที่สองจะเป็นการเลือกประโยคที่แสดงความรู้สึกเชิงลบ จำนวน 400 ประโยค จากนั้นจะทำการแยกประโยคออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) เพศ 2)โปรโมชัน 3)ปัญหาการบริการ และ 4)เวลาที่โพสต์ โดยในขั้นตอนดังกล่าวนี้ โปรแกรมภาษาอาร์ จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาคำสั่งในการวิเคราะห์ทางสถิติ ตรวจสอบสมมติฐาน และทำการแสดงผลลัพธ์ด้วยวิชวลไลเซชั่นสำหรับการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและ การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จากผลการทดลองพบว่า ปัญหาการบริการในการติดต่อกับศูนย์บริการ มีความยากและมีความล่าช้าในการตอบคำถาม อย่างไรก็ตามแนวโน้มผลตอบรับประสบการณ์ของลูกค้าและปัญหาการบริการนั้น มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 การประเมินผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน เพื่อกำหนดความแม่นยำของแบบจำลองการทำนายจะขึ้นอยู่กับ 3 กลุ่มข้อมูลที่สำคัญ คือ เพศ โปรโมชัน และปัญหาการบริการ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานเท่ากับ ร้อยละ 1.046 เพื่อแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะทางด้านความแม่นยำของโปรแกรมการใช้งาน ค่าแนวโน้มผลตอบรับประสบการณ์ของลูกค้าและค่าการวัดประสิทธิภาพโดยรวม จะมีค่าเท่ากับร้อยละ 98.95 และร้อยละ 71 ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12776
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_163286.pdfเอกสารฉบับเต็ม17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons