กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12780
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีและเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับสำนักงานจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตามหลักการ COSO
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of the best practices and tool for risk management in information technology system of governor’s office at the office of the Southern Gulf of Thailand based on COSO
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภา เจริญภัณฑารักษ์
ประภาศรี รักษ์บางแหลม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ซอฟต์แวร์--การพัฒนา
การบริหารความเสี่ยง
เทคโนโลยีสารสนเทศ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อประเมินความเสี่ยง ตามหลักการ ของ COSO สำหรับสำนักงานจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) พัฒนาระบบสำหรับการประเมินความเสี่ยงตามแนวทางปฏิบัติของ COSO ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสำนักงานจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย วิธีดำเนินงานวิจัยประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ (1) ศึกษาแนวทาง COSO ในการประเมินความ เสี่ยงในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) วิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของ สำนักงานจังหวัดโดยใช้รายการภัยคุกคามเป็นตัวกำหนด (จำนวน 25 รายการ) และใช้สูตรในการประเมิน ความเสี่ยง (ค่าความเสี่ยง = โอกาสที่จะเกิด x ผลกระทบ) (3) พัฒนาระบบประเมินความเสี่ยงด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือที่พัฒนาระบบ ได้แก่ PHP และ Mysql จัดทำเป็น Web application โดยมีรายการตรวจสอบตามภัยคุกคาม และคำนวณเป็นค่าความเสี่ยง นำเสนอเป็นกราฟสีเขียวสำหรับ ความเสี่ยงต่ำ สีเหลือง สำหรับความเสี่ยงปานกลาง และสีแดง สำหรับความเสี่ยงสูง ผลการวิจัยพบว่า (1) สถานะความเสี่ยงของสำนักงานจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มี ระดับความเสี่ยงปานกลางถึงสูง (2) ระบบการประเมินความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน จังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยที่พัฒนาขึ้น สามารถประเมินความเสี่ยงของแต่ละจังหวัดให้ สามารถรู้ถึงระดับความเสี่ยงในปัจจุบันได้ จากผลการดำเนินงานดังกล่าว ควรมีการประเมินความเสี่ยง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และให้ความรู้กับผู้บริหาร ผู้ดูแลระบบ และผู้ปฏิบัติงานในการจัดทำแนวทางปฏิบัติ ด้วยมาตรฐานใหม่ๆ เพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12780
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_161540.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons