กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12795
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบแสดงผลข้อมูลของคอลเซ็นเตอร์ด้วยเทคโนโลยีซิกแนลอาร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Improvement of wallboard display system for call center using SignaIR Technology
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภา เจริญภัณฑารักษ์
ศุภชัย หอมพันธุ์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--การศึกษาเฉพาะกรณี
ศูนย์ตอบรับโทรศัพท์--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: บทความของโครงการนี้นำเสนอการพัฒนาต้นแบบการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบแสดงผลข้อมูลของคอลเซ็นเตอร์ด้วยเทคโนโลยีซิกแนลอาร์และการประเมินประสิทธิภาพของต้นแบบที่ได้พัฒนาขึ้น การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบแสดงผลข้อมูลของคอลเซ็นเตอร์ด้วยเทคโนโลยีซิกแนลอาร์ใช้ไลบารี่ของซิกแนลอาร์ทำงานร่วมกับเอเอสพีและเอเอสพีดอทเน็ตเอ็มวีซีประกอบไปด้วย (1) โมเดล (Model) ทำหน้าที่สร้างคลาสสำหรับสำหรับเก็บข้อมูลคอลเซ็นเตอร์จากฐานข้อมูล (2) วิว (View) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลหน้าจอข้อมูลคอลเซ็นเตอร์ (3) คอนโทรลเลอร์ (Controller) ทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่างฮับกับฟังก์ชั่นที่ถูกเรียกใช้งานโดยไคลเอนต์ ผลจากการดำเนินโครงการนี้เป็นการนำหลักการของสถาปัตยกรรมซิกแนลอาร์มา พัฒนาระบบแสดงข้อมูลคอลเซ็นเตอร์แบบเรียลไทม์ซึ่งสามารถประหยัดทรัพยากรของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้มากกว่าเมื่อเทียบกับระบบเดิมที่ใช้อยู่ พบว่า ซิกแนลอาร์สามารถลดการทำงานของซีพียูในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 45% ลดการรับส่งข้อมูล 70% และได้รับข้อมูลในรูปแบบเวลาจริง แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี และจากประสิทธิภาพของระบบทำให้ศูนย์ข้อมูลคอลเซ็นเตอร์ได้รับข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาพัฒนางานในทีมเพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12795
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_147723.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons