กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12799
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการใช้งานโปรแกรมบริการข้อมูลประชาชนสำหรับศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of tracking and evaluation system for the public data service of Phranakhonsriayutthaya Kwaeng Court
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภา เจริญภัณฑารักษ์
สุวิทย์ ทับยัง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี --การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้อมูลข่าวสารของราชการทางอิเล็กทรอนิกส์--การประเมิน
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของโครงการฯ คือ 1) เพื่อจัดเก็บข้อมูลติดตามการใช้งานโปรแกรม บริการข้อมูลประชาชนของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลการติดตาม การใช้งานโปรแกรมการบริการข้อมูลประชาชน 3) เพื่อปรับปรุงโปรแกรมบริการข้อมูลประชาชน ของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาจากการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งานระบบ การดำเนิน โครงการแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) พัฒนาระบบติดตามการใช้งานโดยใช้หลักการของการ อ้างอิงลำดับการเกิดแหตุการณ์ (Event Driven Approach) ในรูปแบบ log file 2) วิเคราะห์ และ ประเมินผลผลจากข้อมูลที่จัดเก็บใน log file และ 3) ปรับปรุงโปรแกรมฯ เพื่อให้บริการได้อย่าง เหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ Microsoft Access และ Microsoft Excel ผลการดำเนินงานพบว่า มีกลุ่มผู้ใช้ทั้งหมด 7 ประเภท ผู้เข้ามาใช้บริการมากที่สุดคือ ทนายความ คิดเป็นร้อยละ 67.13 จำนวนประเภทข้อมูลที่เตรียมไว้สำหรับใช้ค้นหาจำนวน 17 รายการ ถูกใช้ไปเพียง 8 รายการเท่านั้น โดยข้อมูลที่มีการเรียกใช้งานมากที่สุดคือประเภทหมายเลข ดำ คิดเป็น ร้อยละ 74.80 และจากรายละเอียดคดีที่แสดงผลทั้งหมด 9 รายการ มีผู้สนใจดู รายละเอียดข้อมูลของคดีทั่วไปมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.86 ผลการดำเนินงานจากข้อมูลที่ วิเคราะห์ทำให้มีการออกแบบจอภาพใหม่ ทำให้การค้นหาข้อมูล สะดวกขึ้น โดยการตัดรายการ ค้นหาที่ไม่ถูกใช้งานออกไป เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งานบนหน้าจอ ทำให้เกิดความชัดเจนของข้อความ มากยิ่งขึ้น และสามารถจัดลำดับประเภทข้อมูลที่ถูกใช้ค้นหา หรือรายละเอียดข้อมูลที่ถูกเรียกใช้ บ่อยๆ ให้อยู่ใกล้กัน เพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น ผู้ใช้ระบบได้ให้ข้อเสนอแนะคือ ผู้ใช้ต้องการให้ โปรแกรมค้นหาข้อมูลได้เร็วขึ้น มีคู่มือการใช้งานสำหรับผู้ใช้ใหม่ และสามารถเข้าถึงได้จาก อุปกรณ์อื่นๆ เช่น สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12799
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_145750.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons