Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12804
Title: การปรับปรุงระบบบริหารงานซ่อมบำรุง : กรณีศึกษาโรงงานรับจ้างผลิตอาหารในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท
Other Titles: Improvement of maintenance management system: a case study of original equipment manufacturer of food in sealed packing
Authors: ศรีสิทธิ์ เจียรบุตร
พงศ์สุพัฒน์ ศรีคำแหง, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบำรุงรักษาโรงงาน
บรรจุภัณฑ์
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) การนำเทคนิคการบริหารงานซ่อมบำรุงมาพัฒนาระบบบริหารงานซ่อมบำรุงของโรงงานกรณีศึกษา 2) พัฒนาแผนงานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรในสายงานบรรจุกระป๋องและงานบรรจุในถุงรีทอร์ทเพ้าตามวิธีการซ่อมบำรุงรักษาเชิงวางแผนการศึกษานี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการซ่อมบำรุงแบบไม่ได้วางแผนและการซ่อมบำรุงตามแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยทำระบบการบันทึกข้อมูลการซ่อมบำรุงขึ้นใหม่โดยเริ่มทำการเก็บ ข้อมูลตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2560 ถึงเดือนมีนาคม 2561 ผู้วิจัยได้ทำการปรับรูปแบบการบันทึกปัญหาที่เกิดจากเครื่องจักร โดยช่างของโรงงานจะเป็นผู้บันทึกปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ไขลงในแบบฟอร์มของผู้วิจัย แล้วนำข้อมูลดังกล่าวบันทึกลงโปรแกรมที่ทำด้วย Microsoft Excel โดยผู้วิจัยได้คำนวณ 1) ประสิทธิภาพเครื่องจักรสายการบรรจุกระป๋องได้เท่ากับ 93.09% และ สายการบรรจุถุงรีทอร์ทเพ้า 93.49% 2) อัตราการหยุดของเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผนของสายการบรรจุกระป๋องเท่ากับ 6.91% และสายการบรรจุถุงรีทอร์ทเพ้า 6.51% 3)ข้อมูลอัตราระยะเวลาเฉลี่ยก่อนการเสียหายของ สายการบรรจุกระป๋องเท่ากับ 245.89 นาที และ สายการบรรจุถุงรีทอร์ทเพ้า 353.11 นาที 4) ข้อมูลระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เสียหายจนใช้งานได้ของสายการบรรจุกระป๋องเท่ากับ 16.98 นาที และสายการบรรจุถุงรีทอร์ทเฟ้า 24.04 นาที หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการนำข้อมูลร้อยละการหยุดของเครื่องจักร โดยไม่ได้วางแผนมาทำการแบ่งกลุ่มข้อมูลและ สรุปปัญหาที่สำคัญที่สุดเพื่อนำข้อมูลกลับไปปรับปรุงแผนงานบำรุงรักษาตามแผน ผู้วิจัยพบว่ารากของปัญหาที่แท้จริงคือไม่มีการกำหนดแผนการบำรุงรักษาซึ่งส่งผลให้เครื่องจักรเกิดการหยุด แบบไม่อยู่แผน เพื่อทำการแก้ปัญหา ดังนั้นผู้ทำการวิจัยจึงได้สร้างแผนบำรุงรักษาตามระยะเวลาขึ้นให้พนักงานในส่วนงานซ่อมบำรุงนำไปปฏิบัติและติดตามผลการปรับปรุงตามแผนการบำรุงรักษา ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพรวมของเครื่องจกรของการบรรจุกระป๋องเป็นร้อยละ 95.76 เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 2.67 ส่วนของการบรรจุรีทอร์ทเพ้าเป็นร้อยละ 96.18 เพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 2.69
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12804
Appears in Collections:Science Tech - Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_159598.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons