Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12809
Title: | ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี |
Other Titles: | Health literacy and health behaviors of students at Muban Chombueng Rajabhat University, Ratchaburi Province |
Authors: | ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ ญษมณ ละทัยนิล, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี สุขภาพและอนามัย ความรู้ทั่วไป พฤติกรรมสุขภาพ นักศึกษาอุดมศึกษา--สุขภาพและอนามัย การศึกษาอิสระ--วิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล และความรอบรู้ด้านสุขภาพ (2) พฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สูบบุหรี่ สุรา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมสุขภาพ และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี ประชากร คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 4,737 คน คำนวณตัวอย่างได้จำนวน 356 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่มีค่าความเที่ยงทั้งหมดเท่ากับ 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ไควสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 20.85 ปี กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รายได้ที่ได้รับเฉลี่ยต่อเดือน 4,965.17 บาท ไม่มีโรคประจำตัว มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติคือช่วง 18.50-22.99 กิโลกรัม/เมตร2 ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าอยู่ในระดับไม่ดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ ด้านการจัดการตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ อยู่ในระดับไม่ดี ส่วนด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง อยู่ในระดับพอใช้ (2) พฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส ในภาพรวมอยู่ในระดับไม่ดี โดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร การออกกำลังกาย และด้านการจัดการทางอารมณ์ ส่วนพฤติกรรมด้านการสูบบุหรี่และดื่มสุราอยู่ในระดับพอใช้ (3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ คณะที่กำลังศึกษา (X2=0.337) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (r =- 0.114) และ (4) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.386) |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12809 |
Appears in Collections: | Science Tech - Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_163394.pdf | 19.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License