กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12832
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบลในจังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to disease prevention and control performance among Sub-district surveillance and rapid response teams in Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา จันทร์คง
จันทร์ธณา จันทร์เที่ยง, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล (2) กระบวนการบริหารของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล (3) ผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ระดับตำบล และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารกับผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ระดับตำบลในจังหวัดนนทบุรี ประชากรที่ศึกษา คือ หัวหน้าทีมและแกนหลักของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 152 คน โดยเลือกทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคล ของสมาชิกทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ระดับตำบลในจังหวัดนนทบุรี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 44.53 ปี มีสถานภาพคู่มากที่สุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบลเฉลี่ย 5.43 ปี (2) กระบวนการบริหาร ของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ระดับตำบล ในภาพรวมส่วนใหญ่มีการบริหารอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสั่งการ (3) ผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ระดับตำบล จังหวัดนนทบุรี ในภาพรวมส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานระดับดีร้อยละ 53.90 และ (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ได้แก่ กระบวนการบริหาร ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดการองค์กร การสั่งการ การประสานงานและ การควบคุมกำกับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12832
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_147733.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons