กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12834
ชื่อเรื่อง: | การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดชุมพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Performance on prevention and control for dengue hemorrhagic fever outbreak of health officials in Chumphon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรางคณา จันทร์คง จารณี มากภิรมย์, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม--ไทย--ชุมพร |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (2) คุณลักษณะส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กร ปัจจัยค้ำจุนและปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กร ปัจจัยค้ำจุนและปัจจัยจูงใจกับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในจังหวัดชุมพร จำนวน 110 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบไคสแคว์ และการทดสอบฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การปฏิบัติงานการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (2) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.20 ปี มีตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข สถานภาพคู่ ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีประสบการณ์การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกเฉลี่ย 10.70 ปี เคยได้รับการฝึกอบรมด้านการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกเฉลี่ย 1.10 ครั้ง ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยค้ำจุนภาพรวมอยู่ในระดับสูง ปัจจัยจูงใจภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ(3) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กรในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนปัจจัยค้ำจุนและปัจจัยจูงใจไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12834 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_148090.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License